วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555


ความรู้และเทคโนโลยีสิ่งทอ
คุยกันก่อน
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

สิ่งทอส่วนใหญ่ที่อยู่ในรูปของเสื้อผ้า เรามักจะคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แต่ยังมีอีกหลายๆแง่มุมของสิ่งทอ รวมไปถึงวิทยาการและเทคโนโลยี ทางด้านสิ่งทอที่อาจจะถูกมองข้ามไปหรือถูกจำกัดให้อยู่ในวงแคบเฉพาะในกลุ่มของนักวิชาการ หากผู้ใช้มีความสนใจและเข้าใจ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งทอ เช่น ชนิดของเส้นใย สมบัติของเส้นใย การขึ้นรูปเป็นเส้นด้าย การขึ้นรูปเป็นผืนผ้า ก็จะทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกวัสดุสิ่งทอที่มีในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการและการนำไปใช้ รวมไปถึงการดูแลรักษาด้วย
เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งความพยายามของ หน่วยปฏิบัติงานวิจัยและพัฒนาสิ่งทอ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ในการเผยแพร่ความรู้ และเทคโนโลยีสิ่งทอ ทั้งในส่วนความรู้พื้นฐานและส่วนที่เป็นวิทยาการใหม่ๆ ที่น่าสนใจ และเพื่อเป็นการเปิดมุมมองของสาธารณชนต่อสิ่งทอให้กว้างขึ้น
ศัพท์สิ่งทอที่ควรรู้
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ก่อนที่จะเข้าไปในโลกของสิ่งทอ เราควรจะมาทำความคุ้นเคยกับศัพท์ในวิทยาศาสตร์สิ่งทอกันสักนิด ในที่นี้เรายกมาเฉพาะคำศัพท์พื้นฐานที่ใช้กันบ่อยๆ ส่วนคำศัพท์อื่นๆ นั้นผู้เชี่ยวชาญทางสิ่งทอได้รวบรวมคำนิยามไว้ในหนังสือ ศัพท์เคมีสิ่งทอ

เส้นใย (Fiber) หมายถึง วัสดุหรือสารใดๆ ทั้งที่เกิดจากธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้น ที่มีอัตราส่วนระหว่าง ความยาวต่อเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับหรือมากกว่า 100 สามารถขึ้นรูปเป็นผ้าได้ และต้องเป็นองค์ประกอบที่เล็กที่สุดของผ้า ไม่สามารถแยกย่อยในเชิงกลได้อีก
ด้าย (Yarn) ประกอบด้วยเส้นใยหลายๆเส้น รวมกัน อาจมีการขึ้นเกลียว (twist) หรือไม่ก็ได้
ผ้า (Fabric) เป็นวัสดุที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบน สามารถผลิตจากสารละลาย เส้นใย เส้นด้าย หรือวัสดุพื้นฐานเหล่านี้รวมกัน
การตกแต่งสำเร็จ (Finish) คือกระบวนการใส่สารเติมแต่งเพื่อเพิ่มสมบัติให้แก่ผ้าดิบ
ผ้าดิบ (Grey goods) ผ้าที่ยังไม่ผ่านกระบวนการตกแต่งสำเร็จ
สิ่งทอ (Textile) มีความหมายกว้างๆ หมายถึงเส้นใย เส้นด้าย ผ้า หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเส้นใย เส้นด้าย หรือจากผ้า
ความรู้พื้นฐานสิ่งทอ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
สิ่งทอ (Textile) คำนิยามเดิมจะหมายถึงเฉพาะผ้าทอเท่านั้น แต่ในปัจจุบันมีการขยายความหมายครอบคลุมถึงเส้นใย ด้าย ผืนผ้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากเส้นใย เส้นด้าย หรือผืนผ้าด้วย [1]
สิ่งทอสามารถแยกตามประเภทการใช้งานเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่ม สิ่งทอทั่วไป (Conventional textiles) และ สิ่งทอเฉพาะทาง (Technical textiles)
สิ่งทอทั่วไป (Conventional textiles)
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
สิ่งทอทั่วไปนั้นครอบคลุมถึง สิ่งทอที่มีการขึ้นรูปตามปกติจากเส้นใยเป็นเส้นด้าย ไปจนถึงการถักทอขึ้นรูปเป็นผืนผ้า ลักษณะของผลิตภัณฑ์ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้เช่น เชือก ซึ่งเกิดจากการขึ้นรูปจากเส้นใย ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มักอยู่ในรูปของเสื้อผ้า
กระบวนการผลิตสิ่งทอเป็นกระบวนการต่อเนื่องของหลายๆกระบวนการ เริ่มตั้งแต่การผลิตเส้นใย (Fiber formation) การขึ้นรูปเป็นเส้นด้าย (Yarn spinning) การขึ้นรูปสิ่งทอ (Textile formation) และการตกแต่งสำเร็จ (Finishing) อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องจึงมีทั้งอุตสาหกรรมที่ผลิตเส้นใย (ในกรณีของเส้นใยประดิษฐ์) ซึ่งถือว่าเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำ (upstream) อุตสาหกรรมปั่นด้าย และอุตสาหกรรมถัก ทอผ้า ซึ่งถือว่าเป็นอุตสาหกรรมกลางน้ำ (midstream) และสุดท้ายอุตสาหกรรมฟอกย้อมและตกแต่ง ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำ (downstream) ส่วนการผลิตเสื้อผ้านั้น ถือว่าเป็นอีกกระบวนการหนึ่ง ที่แยกออกมาเนื่องจากเป็นการนำเอาสิ่งทอ ไปออกแบบและตัดเย็บตามรูปแบบที่ต้องการ
สิ่งทอเฉพาะทาง (Technical textiles)
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
สิ่งทอเฉพาะทาง (Technical textiles) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสมบัติที่เหมาะสม กับการนำไปใช้งาน ที่นอกเหนือไปจากสิ่งทอทั่วไป ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์สิ่งทอเฉพาะทางได้แก่ ถุงลมนิรภัย เข็มขัดนิรภัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป เสื้อเกราะกันกระสุน มีกระบวนการผลิตที่แตกต่างออกไป ซึ่งมักเป็นการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ โดยตรงจากเส้นใย ซึ่งเรียกว่าผ้าไม่ถักไม่ทอ หรือ นอนวูฟเวน (nonwoven) เหล่านี้กำลังมีการขยายตัวค่อนข้างสูง
ความรู้และเทคโนโลยีสิ่งทอ
คุยกันก่อน
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

สิ่งทอส่วนใหญ่ที่อยู่ในรูปของเสื้อผ้า เรามักจะคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แต่ยังมีอีกหลายๆแง่มุมของสิ่งทอ รวมไปถึงวิทยาการและเทคโนโลยี ทางด้านสิ่งทอที่อาจจะถูกมองข้ามไปหรือถูกจำกัดให้อยู่ในวงแคบเฉพาะในกลุ่มของนักวิชาการ หากผู้ใช้มีความสนใจและเข้าใจ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งทอ เช่น ชนิดของเส้นใย สมบัติของเส้นใย การขึ้นรูปเป็นเส้นด้าย การขึ้นรูปเป็นผืนผ้า ก็จะทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกวัสดุสิ่งทอที่มีในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการและการนำไปใช้ รวมไปถึงการดูแลรักษาด้วย
เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งความพยายามของ หน่วยปฏิบัติงานวิจัยและพัฒนาสิ่งทอ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ในการเผยแพร่ความรู้ และเทคโนโลยีสิ่งทอ ทั้งในส่วนความรู้พื้นฐานและส่วนที่เป็นวิทยาการใหม่ๆ ที่น่าสนใจ และเพื่อเป็นการเปิดมุมมองของสาธารณชนต่อสิ่งทอให้กว้างขึ้น
ศัพท์สิ่งทอที่ควรรู้
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ก่อนที่จะเข้าไปในโลกของสิ่งทอ เราควรจะมาทำความคุ้นเคยกับศัพท์ในวิทยาศาสตร์สิ่งทอกันสักนิด ในที่นี้เรายกมาเฉพาะคำศัพท์พื้นฐานที่ใช้กันบ่อยๆ ส่วนคำศัพท์อื่นๆ นั้นผู้เชี่ยวชาญทางสิ่งทอได้รวบรวมคำนิยามไว้ในหนังสือ ศัพท์เคมีสิ่งทอ

เส้นใย (Fiber) หมายถึง วัสดุหรือสารใดๆ ทั้งที่เกิดจากธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้น ที่มีอัตราส่วนระหว่าง ความยาวต่อเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับหรือมากกว่า 100 สามารถขึ้นรูปเป็นผ้าได้ และต้องเป็นองค์ประกอบที่เล็กที่สุดของผ้า ไม่สามารถแยกย่อยในเชิงกลได้อีก
ด้าย (Yarn) ประกอบด้วยเส้นใยหลายๆเส้น รวมกัน อาจมีการขึ้นเกลียว (twist) หรือไม่ก็ได้
ผ้า (Fabric) เป็นวัสดุที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบน สามารถผลิตจากสารละลาย เส้นใย เส้นด้าย หรือวัสดุพื้นฐานเหล่านี้รวมกัน
การตกแต่งสำเร็จ (Finish) คือกระบวนการใส่สารเติมแต่งเพื่อเพิ่มสมบัติให้แก่ผ้าดิบ
ผ้าดิบ (Grey goods) ผ้าที่ยังไม่ผ่านกระบวนการตกแต่งสำเร็จ
สิ่งทอ (Textile) มีความหมายกว้างๆ หมายถึงเส้นใย เส้นด้าย ผ้า หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเส้นใย เส้นด้าย หรือจากผ้า
ความรู้พื้นฐานสิ่งทอ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
สิ่งทอ (Textile) คำนิยามเดิมจะหมายถึงเฉพาะผ้าทอเท่านั้น แต่ในปัจจุบันมีการขยายความหมายครอบคลุมถึงเส้นใย ด้าย ผืนผ้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากเส้นใย เส้นด้าย หรือผืนผ้าด้วย [1]
สิ่งทอสามารถแยกตามประเภทการใช้งานเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่ม สิ่งทอทั่วไป (Conventional textiles) และ สิ่งทอเฉพาะทาง (Technical textiles)
สิ่งทอทั่วไป (Conventional textiles)
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
สิ่งทอทั่วไปนั้นครอบคลุมถึง สิ่งทอที่มีการขึ้นรูปตามปกติจากเส้นใยเป็นเส้นด้าย ไปจนถึงการถักทอขึ้นรูปเป็นผืนผ้า ลักษณะของผลิตภัณฑ์ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้เช่น เชือก ซึ่งเกิดจากการขึ้นรูปจากเส้นใย ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มักอยู่ในรูปของเสื้อผ้า
กระบวนการผลิตสิ่งทอเป็นกระบวนการต่อเนื่องของหลายๆกระบวนการ เริ่มตั้งแต่การผลิตเส้นใย (Fiber formation) การขึ้นรูปเป็นเส้นด้าย (Yarn spinning) การขึ้นรูปสิ่งทอ (Textile formation) และการตกแต่งสำเร็จ (Finishing) อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องจึงมีทั้งอุตสาหกรรมที่ผลิตเส้นใย (ในกรณีของเส้นใยประดิษฐ์) ซึ่งถือว่าเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำ (upstream) อุตสาหกรรมปั่นด้าย และอุตสาหกรรมถัก ทอผ้า ซึ่งถือว่าเป็นอุตสาหกรรมกลางน้ำ (midstream) และสุดท้ายอุตสาหกรรมฟอกย้อมและตกแต่ง ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำ (downstream) ส่วนการผลิตเสื้อผ้านั้น ถือว่าเป็นอีกกระบวนการหนึ่ง ที่แยกออกมาเนื่องจากเป็นการนำเอาสิ่งทอ ไปออกแบบและตัดเย็บตามรูปแบบที่ต้องการ
สิ่งทอเฉพาะทาง (Technical textiles)
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
สิ่งทอเฉพาะทาง (Technical textiles) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสมบัติที่เหมาะสม กับการนำไปใช้งาน ที่นอกเหนือไปจากสิ่งทอทั่วไป ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์สิ่งทอเฉพาะทางได้แก่ ถุงลมนิรภัย เข็มขัดนิรภัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป เสื้อเกราะกันกระสุน มีกระบวนการผลิตที่แตกต่างออกไป ซึ่งมักเป็นการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ โดยตรงจากเส้นใย ซึ่งเรียกว่าผ้าไม่ถักไม่ทอ หรือ นอนวูฟเวน (nonwoven) เหล่านี้กำลังมีการขยายตัวค่อนข้างสูง



ความรู้และเทคโนโลยีสิ่งทอ
คุยกันก่อน
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

สิ่งทอส่วนใหญ่ที่อยู่ในรูปของเสื้อผ้า เรามักจะคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แต่ยังมีอีกหลายๆแง่มุมของสิ่งทอ รวมไปถึงวิทยาการและเทคโนโลยี ทางด้านสิ่งทอที่อาจจะถูกมองข้ามไปหรือถูกจำกัดให้อยู่ในวงแคบเฉพาะในกลุ่มของนักวิชาการ หากผู้ใช้มีความสนใจและเข้าใจ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งทอ เช่น ชนิดของเส้นใย สมบัติของเส้นใย การขึ้นรูปเป็นเส้นด้าย การขึ้นรูปเป็นผืนผ้า ก็จะทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกวัสดุสิ่งทอที่มีในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการและการนำไปใช้ รวมไปถึงการดูแลรักษาด้วย
เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งความพยายามของ หน่วยปฏิบัติงานวิจัยและพัฒนาสิ่งทอ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ในการเผยแพร่ความรู้ และเทคโนโลยีสิ่งทอ ทั้งในส่วนความรู้พื้นฐานและส่วนที่เป็นวิทยาการใหม่ๆ ที่น่าสนใจ และเพื่อเป็นการเปิดมุมมองของสาธารณชนต่อสิ่งทอให้กว้างขึ้น
ศัพท์สิ่งทอที่ควรรู้
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ก่อนที่จะเข้าไปในโลกของสิ่งทอ เราควรจะมาทำความคุ้นเคยกับศัพท์ในวิทยาศาสตร์สิ่งทอกันสักนิด ในที่นี้เรายกมาเฉพาะคำศัพท์พื้นฐานที่ใช้กันบ่อยๆ ส่วนคำศัพท์อื่นๆ นั้นผู้เชี่ยวชาญทางสิ่งทอได้รวบรวมคำนิยามไว้ในหนังสือ ศัพท์เคมีสิ่งทอ

เส้นใย (Fiber) หมายถึง วัสดุหรือสารใดๆ ทั้งที่เกิดจากธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้น ที่มีอัตราส่วนระหว่าง ความยาวต่อเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับหรือมากกว่า 100 สามารถขึ้นรูปเป็นผ้าได้ และต้องเป็นองค์ประกอบที่เล็กที่สุดของผ้า ไม่สามารถแยกย่อยในเชิงกลได้อีก
ด้าย (Yarn) ประกอบด้วยเส้นใยหลายๆเส้น รวมกัน อาจมีการขึ้นเกลียว (twist) หรือไม่ก็ได้
ผ้า (Fabric) เป็นวัสดุที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบน สามารถผลิตจากสารละลาย เส้นใย เส้นด้าย หรือวัสดุพื้นฐานเหล่านี้รวมกัน
การตกแต่งสำเร็จ (Finish) คือกระบวนการใส่สารเติมแต่งเพื่อเพิ่มสมบัติให้แก่ผ้าดิบ
ผ้าดิบ (Grey goods) ผ้าที่ยังไม่ผ่านกระบวนการตกแต่งสำเร็จ
สิ่งทอ (Textile) มีความหมายกว้างๆ หมายถึงเส้นใย เส้นด้าย ผ้า หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเส้นใย เส้นด้าย หรือจากผ้า
ความรู้พื้นฐานสิ่งทอ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
สิ่งทอ (Textile) คำนิยามเดิมจะหมายถึงเฉพาะผ้าทอเท่านั้น แต่ในปัจจุบันมีการขยายความหมายครอบคลุมถึงเส้นใย ด้าย ผืนผ้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากเส้นใย เส้นด้าย หรือผืนผ้าด้วย [1]
สิ่งทอสามารถแยกตามประเภทการใช้งานเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่ม สิ่งทอทั่วไป (Conventional textiles) และ สิ่งทอเฉพาะทาง (Technical textiles)
สิ่งทอทั่วไป (Conventional textiles)
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
สิ่งทอทั่วไปนั้นครอบคลุมถึง สิ่งทอที่มีการขึ้นรูปตามปกติจากเส้นใยเป็นเส้นด้าย ไปจนถึงการถักทอขึ้นรูปเป็นผืนผ้า ลักษณะของผลิตภัณฑ์ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้เช่น เชือก ซึ่งเกิดจากการขึ้นรูปจากเส้นใย ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มักอยู่ในรูปของเสื้อผ้า
กระบวนการผลิตสิ่งทอเป็นกระบวนการต่อเนื่องของหลายๆกระบวนการ เริ่มตั้งแต่การผลิตเส้นใย (Fiber formation) การขึ้นรูปเป็นเส้นด้าย (Yarn spinning) การขึ้นรูปสิ่งทอ (Textile formation) และการตกแต่งสำเร็จ (Finishing) อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องจึงมีทั้งอุตสาหกรรมที่ผลิตเส้นใย (ในกรณีของเส้นใยประดิษฐ์) ซึ่งถือว่าเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำ (upstream) อุตสาหกรรมปั่นด้าย และอุตสาหกรรมถัก ทอผ้า ซึ่งถือว่าเป็นอุตสาหกรรมกลางน้ำ (midstream) และสุดท้ายอุตสาหกรรมฟอกย้อมและตกแต่ง ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำ (downstream) ส่วนการผลิตเสื้อผ้านั้น ถือว่าเป็นอีกกระบวนการหนึ่ง ที่แยกออกมาเนื่องจากเป็นการนำเอาสิ่งทอ ไปออกแบบและตัดเย็บตามรูปแบบที่ต้องการ
สิ่งทอเฉพาะทาง (Technical textiles)
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
สิ่งทอเฉพาะทาง (Technical textiles) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสมบัติที่เหมาะสม กับการนำไปใช้งาน ที่นอกเหนือไปจากสิ่งทอทั่วไป ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์สิ่งทอเฉพาะทางได้แก่ ถุงลมนิรภัย เข็มขัดนิรภัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป เสื้อเกราะกันกระสุน มีกระบวนการผลิตที่แตกต่างออกไป ซึ่งมักเป็นการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ โดยตรงจากเส้นใย ซึ่งเรียกว่าผ้าไม่ถักไม่ทอ หรือ นอนวูฟเวน (nonwoven) เหล่านี้กำลังมีการขยายตัวค่อนข้างสูง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น