วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555


ความรู้และเทคโนโลยีสิ่งทอ
คุยกันก่อน
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

สิ่งทอส่วนใหญ่ที่อยู่ในรูปของเสื้อผ้า เรามักจะคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แต่ยังมีอีกหลายๆแง่มุมของสิ่งทอ รวมไปถึงวิทยาการและเทคโนโลยี ทางด้านสิ่งทอที่อาจจะถูกมองข้ามไปหรือถูกจำกัดให้อยู่ในวงแคบเฉพาะในกลุ่มของนักวิชาการ หากผู้ใช้มีความสนใจและเข้าใจ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งทอ เช่น ชนิดของเส้นใย สมบัติของเส้นใย การขึ้นรูปเป็นเส้นด้าย การขึ้นรูปเป็นผืนผ้า ก็จะทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกวัสดุสิ่งทอที่มีในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการและการนำไปใช้ รวมไปถึงการดูแลรักษาด้วย
เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งความพยายามของ หน่วยปฏิบัติงานวิจัยและพัฒนาสิ่งทอ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ในการเผยแพร่ความรู้ และเทคโนโลยีสิ่งทอ ทั้งในส่วนความรู้พื้นฐานและส่วนที่เป็นวิทยาการใหม่ๆ ที่น่าสนใจ และเพื่อเป็นการเปิดมุมมองของสาธารณชนต่อสิ่งทอให้กว้างขึ้น
ศัพท์สิ่งทอที่ควรรู้
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ก่อนที่จะเข้าไปในโลกของสิ่งทอ เราควรจะมาทำความคุ้นเคยกับศัพท์ในวิทยาศาสตร์สิ่งทอกันสักนิด ในที่นี้เรายกมาเฉพาะคำศัพท์พื้นฐานที่ใช้กันบ่อยๆ ส่วนคำศัพท์อื่นๆ นั้นผู้เชี่ยวชาญทางสิ่งทอได้รวบรวมคำนิยามไว้ในหนังสือ ศัพท์เคมีสิ่งทอ

เส้นใย (Fiber) หมายถึง วัสดุหรือสารใดๆ ทั้งที่เกิดจากธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้น ที่มีอัตราส่วนระหว่าง ความยาวต่อเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับหรือมากกว่า 100 สามารถขึ้นรูปเป็นผ้าได้ และต้องเป็นองค์ประกอบที่เล็กที่สุดของผ้า ไม่สามารถแยกย่อยในเชิงกลได้อีก
ด้าย (Yarn) ประกอบด้วยเส้นใยหลายๆเส้น รวมกัน อาจมีการขึ้นเกลียว (twist) หรือไม่ก็ได้
ผ้า (Fabric) เป็นวัสดุที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบน สามารถผลิตจากสารละลาย เส้นใย เส้นด้าย หรือวัสดุพื้นฐานเหล่านี้รวมกัน
การตกแต่งสำเร็จ (Finish) คือกระบวนการใส่สารเติมแต่งเพื่อเพิ่มสมบัติให้แก่ผ้าดิบ
ผ้าดิบ (Grey goods) ผ้าที่ยังไม่ผ่านกระบวนการตกแต่งสำเร็จ
สิ่งทอ (Textile) มีความหมายกว้างๆ หมายถึงเส้นใย เส้นด้าย ผ้า หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเส้นใย เส้นด้าย หรือจากผ้า
ความรู้พื้นฐานสิ่งทอ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
สิ่งทอ (Textile) คำนิยามเดิมจะหมายถึงเฉพาะผ้าทอเท่านั้น แต่ในปัจจุบันมีการขยายความหมายครอบคลุมถึงเส้นใย ด้าย ผืนผ้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากเส้นใย เส้นด้าย หรือผืนผ้าด้วย [1]
สิ่งทอสามารถแยกตามประเภทการใช้งานเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่ม สิ่งทอทั่วไป (Conventional textiles) และ สิ่งทอเฉพาะทาง (Technical textiles)
สิ่งทอทั่วไป (Conventional textiles)
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
สิ่งทอทั่วไปนั้นครอบคลุมถึง สิ่งทอที่มีการขึ้นรูปตามปกติจากเส้นใยเป็นเส้นด้าย ไปจนถึงการถักทอขึ้นรูปเป็นผืนผ้า ลักษณะของผลิตภัณฑ์ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้เช่น เชือก ซึ่งเกิดจากการขึ้นรูปจากเส้นใย ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มักอยู่ในรูปของเสื้อผ้า
กระบวนการผลิตสิ่งทอเป็นกระบวนการต่อเนื่องของหลายๆกระบวนการ เริ่มตั้งแต่การผลิตเส้นใย (Fiber formation) การขึ้นรูปเป็นเส้นด้าย (Yarn spinning) การขึ้นรูปสิ่งทอ (Textile formation) และการตกแต่งสำเร็จ (Finishing) อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องจึงมีทั้งอุตสาหกรรมที่ผลิตเส้นใย (ในกรณีของเส้นใยประดิษฐ์) ซึ่งถือว่าเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำ (upstream) อุตสาหกรรมปั่นด้าย และอุตสาหกรรมถัก ทอผ้า ซึ่งถือว่าเป็นอุตสาหกรรมกลางน้ำ (midstream) และสุดท้ายอุตสาหกรรมฟอกย้อมและตกแต่ง ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำ (downstream) ส่วนการผลิตเสื้อผ้านั้น ถือว่าเป็นอีกกระบวนการหนึ่ง ที่แยกออกมาเนื่องจากเป็นการนำเอาสิ่งทอ ไปออกแบบและตัดเย็บตามรูปแบบที่ต้องการ
สิ่งทอเฉพาะทาง (Technical textiles)
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
สิ่งทอเฉพาะทาง (Technical textiles) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสมบัติที่เหมาะสม กับการนำไปใช้งาน ที่นอกเหนือไปจากสิ่งทอทั่วไป ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์สิ่งทอเฉพาะทางได้แก่ ถุงลมนิรภัย เข็มขัดนิรภัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป เสื้อเกราะกันกระสุน มีกระบวนการผลิตที่แตกต่างออกไป ซึ่งมักเป็นการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ โดยตรงจากเส้นใย ซึ่งเรียกว่าผ้าไม่ถักไม่ทอ หรือ นอนวูฟเวน (nonwoven) เหล่านี้กำลังมีการขยายตัวค่อนข้างสูง
ความรู้และเทคโนโลยีสิ่งทอ
คุยกันก่อน
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

สิ่งทอส่วนใหญ่ที่อยู่ในรูปของเสื้อผ้า เรามักจะคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แต่ยังมีอีกหลายๆแง่มุมของสิ่งทอ รวมไปถึงวิทยาการและเทคโนโลยี ทางด้านสิ่งทอที่อาจจะถูกมองข้ามไปหรือถูกจำกัดให้อยู่ในวงแคบเฉพาะในกลุ่มของนักวิชาการ หากผู้ใช้มีความสนใจและเข้าใจ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งทอ เช่น ชนิดของเส้นใย สมบัติของเส้นใย การขึ้นรูปเป็นเส้นด้าย การขึ้นรูปเป็นผืนผ้า ก็จะทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกวัสดุสิ่งทอที่มีในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการและการนำไปใช้ รวมไปถึงการดูแลรักษาด้วย
เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งความพยายามของ หน่วยปฏิบัติงานวิจัยและพัฒนาสิ่งทอ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ในการเผยแพร่ความรู้ และเทคโนโลยีสิ่งทอ ทั้งในส่วนความรู้พื้นฐานและส่วนที่เป็นวิทยาการใหม่ๆ ที่น่าสนใจ และเพื่อเป็นการเปิดมุมมองของสาธารณชนต่อสิ่งทอให้กว้างขึ้น
ศัพท์สิ่งทอที่ควรรู้
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ก่อนที่จะเข้าไปในโลกของสิ่งทอ เราควรจะมาทำความคุ้นเคยกับศัพท์ในวิทยาศาสตร์สิ่งทอกันสักนิด ในที่นี้เรายกมาเฉพาะคำศัพท์พื้นฐานที่ใช้กันบ่อยๆ ส่วนคำศัพท์อื่นๆ นั้นผู้เชี่ยวชาญทางสิ่งทอได้รวบรวมคำนิยามไว้ในหนังสือ ศัพท์เคมีสิ่งทอ

เส้นใย (Fiber) หมายถึง วัสดุหรือสารใดๆ ทั้งที่เกิดจากธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้น ที่มีอัตราส่วนระหว่าง ความยาวต่อเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับหรือมากกว่า 100 สามารถขึ้นรูปเป็นผ้าได้ และต้องเป็นองค์ประกอบที่เล็กที่สุดของผ้า ไม่สามารถแยกย่อยในเชิงกลได้อีก
ด้าย (Yarn) ประกอบด้วยเส้นใยหลายๆเส้น รวมกัน อาจมีการขึ้นเกลียว (twist) หรือไม่ก็ได้
ผ้า (Fabric) เป็นวัสดุที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบน สามารถผลิตจากสารละลาย เส้นใย เส้นด้าย หรือวัสดุพื้นฐานเหล่านี้รวมกัน
การตกแต่งสำเร็จ (Finish) คือกระบวนการใส่สารเติมแต่งเพื่อเพิ่มสมบัติให้แก่ผ้าดิบ
ผ้าดิบ (Grey goods) ผ้าที่ยังไม่ผ่านกระบวนการตกแต่งสำเร็จ
สิ่งทอ (Textile) มีความหมายกว้างๆ หมายถึงเส้นใย เส้นด้าย ผ้า หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเส้นใย เส้นด้าย หรือจากผ้า
ความรู้พื้นฐานสิ่งทอ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
สิ่งทอ (Textile) คำนิยามเดิมจะหมายถึงเฉพาะผ้าทอเท่านั้น แต่ในปัจจุบันมีการขยายความหมายครอบคลุมถึงเส้นใย ด้าย ผืนผ้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากเส้นใย เส้นด้าย หรือผืนผ้าด้วย [1]
สิ่งทอสามารถแยกตามประเภทการใช้งานเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่ม สิ่งทอทั่วไป (Conventional textiles) และ สิ่งทอเฉพาะทาง (Technical textiles)
สิ่งทอทั่วไป (Conventional textiles)
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
สิ่งทอทั่วไปนั้นครอบคลุมถึง สิ่งทอที่มีการขึ้นรูปตามปกติจากเส้นใยเป็นเส้นด้าย ไปจนถึงการถักทอขึ้นรูปเป็นผืนผ้า ลักษณะของผลิตภัณฑ์ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้เช่น เชือก ซึ่งเกิดจากการขึ้นรูปจากเส้นใย ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มักอยู่ในรูปของเสื้อผ้า
กระบวนการผลิตสิ่งทอเป็นกระบวนการต่อเนื่องของหลายๆกระบวนการ เริ่มตั้งแต่การผลิตเส้นใย (Fiber formation) การขึ้นรูปเป็นเส้นด้าย (Yarn spinning) การขึ้นรูปสิ่งทอ (Textile formation) และการตกแต่งสำเร็จ (Finishing) อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องจึงมีทั้งอุตสาหกรรมที่ผลิตเส้นใย (ในกรณีของเส้นใยประดิษฐ์) ซึ่งถือว่าเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำ (upstream) อุตสาหกรรมปั่นด้าย และอุตสาหกรรมถัก ทอผ้า ซึ่งถือว่าเป็นอุตสาหกรรมกลางน้ำ (midstream) และสุดท้ายอุตสาหกรรมฟอกย้อมและตกแต่ง ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำ (downstream) ส่วนการผลิตเสื้อผ้านั้น ถือว่าเป็นอีกกระบวนการหนึ่ง ที่แยกออกมาเนื่องจากเป็นการนำเอาสิ่งทอ ไปออกแบบและตัดเย็บตามรูปแบบที่ต้องการ
สิ่งทอเฉพาะทาง (Technical textiles)
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
สิ่งทอเฉพาะทาง (Technical textiles) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสมบัติที่เหมาะสม กับการนำไปใช้งาน ที่นอกเหนือไปจากสิ่งทอทั่วไป ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์สิ่งทอเฉพาะทางได้แก่ ถุงลมนิรภัย เข็มขัดนิรภัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป เสื้อเกราะกันกระสุน มีกระบวนการผลิตที่แตกต่างออกไป ซึ่งมักเป็นการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ โดยตรงจากเส้นใย ซึ่งเรียกว่าผ้าไม่ถักไม่ทอ หรือ นอนวูฟเวน (nonwoven) เหล่านี้กำลังมีการขยายตัวค่อนข้างสูง



ความรู้และเทคโนโลยีสิ่งทอ
คุยกันก่อน
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

สิ่งทอส่วนใหญ่ที่อยู่ในรูปของเสื้อผ้า เรามักจะคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แต่ยังมีอีกหลายๆแง่มุมของสิ่งทอ รวมไปถึงวิทยาการและเทคโนโลยี ทางด้านสิ่งทอที่อาจจะถูกมองข้ามไปหรือถูกจำกัดให้อยู่ในวงแคบเฉพาะในกลุ่มของนักวิชาการ หากผู้ใช้มีความสนใจและเข้าใจ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งทอ เช่น ชนิดของเส้นใย สมบัติของเส้นใย การขึ้นรูปเป็นเส้นด้าย การขึ้นรูปเป็นผืนผ้า ก็จะทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกวัสดุสิ่งทอที่มีในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการและการนำไปใช้ รวมไปถึงการดูแลรักษาด้วย
เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งความพยายามของ หน่วยปฏิบัติงานวิจัยและพัฒนาสิ่งทอ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ในการเผยแพร่ความรู้ และเทคโนโลยีสิ่งทอ ทั้งในส่วนความรู้พื้นฐานและส่วนที่เป็นวิทยาการใหม่ๆ ที่น่าสนใจ และเพื่อเป็นการเปิดมุมมองของสาธารณชนต่อสิ่งทอให้กว้างขึ้น
ศัพท์สิ่งทอที่ควรรู้
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ก่อนที่จะเข้าไปในโลกของสิ่งทอ เราควรจะมาทำความคุ้นเคยกับศัพท์ในวิทยาศาสตร์สิ่งทอกันสักนิด ในที่นี้เรายกมาเฉพาะคำศัพท์พื้นฐานที่ใช้กันบ่อยๆ ส่วนคำศัพท์อื่นๆ นั้นผู้เชี่ยวชาญทางสิ่งทอได้รวบรวมคำนิยามไว้ในหนังสือ ศัพท์เคมีสิ่งทอ

เส้นใย (Fiber) หมายถึง วัสดุหรือสารใดๆ ทั้งที่เกิดจากธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้น ที่มีอัตราส่วนระหว่าง ความยาวต่อเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับหรือมากกว่า 100 สามารถขึ้นรูปเป็นผ้าได้ และต้องเป็นองค์ประกอบที่เล็กที่สุดของผ้า ไม่สามารถแยกย่อยในเชิงกลได้อีก
ด้าย (Yarn) ประกอบด้วยเส้นใยหลายๆเส้น รวมกัน อาจมีการขึ้นเกลียว (twist) หรือไม่ก็ได้
ผ้า (Fabric) เป็นวัสดุที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบน สามารถผลิตจากสารละลาย เส้นใย เส้นด้าย หรือวัสดุพื้นฐานเหล่านี้รวมกัน
การตกแต่งสำเร็จ (Finish) คือกระบวนการใส่สารเติมแต่งเพื่อเพิ่มสมบัติให้แก่ผ้าดิบ
ผ้าดิบ (Grey goods) ผ้าที่ยังไม่ผ่านกระบวนการตกแต่งสำเร็จ
สิ่งทอ (Textile) มีความหมายกว้างๆ หมายถึงเส้นใย เส้นด้าย ผ้า หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเส้นใย เส้นด้าย หรือจากผ้า
ความรู้พื้นฐานสิ่งทอ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
สิ่งทอ (Textile) คำนิยามเดิมจะหมายถึงเฉพาะผ้าทอเท่านั้น แต่ในปัจจุบันมีการขยายความหมายครอบคลุมถึงเส้นใย ด้าย ผืนผ้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากเส้นใย เส้นด้าย หรือผืนผ้าด้วย [1]
สิ่งทอสามารถแยกตามประเภทการใช้งานเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่ม สิ่งทอทั่วไป (Conventional textiles) และ สิ่งทอเฉพาะทาง (Technical textiles)
สิ่งทอทั่วไป (Conventional textiles)
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
สิ่งทอทั่วไปนั้นครอบคลุมถึง สิ่งทอที่มีการขึ้นรูปตามปกติจากเส้นใยเป็นเส้นด้าย ไปจนถึงการถักทอขึ้นรูปเป็นผืนผ้า ลักษณะของผลิตภัณฑ์ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้เช่น เชือก ซึ่งเกิดจากการขึ้นรูปจากเส้นใย ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มักอยู่ในรูปของเสื้อผ้า
กระบวนการผลิตสิ่งทอเป็นกระบวนการต่อเนื่องของหลายๆกระบวนการ เริ่มตั้งแต่การผลิตเส้นใย (Fiber formation) การขึ้นรูปเป็นเส้นด้าย (Yarn spinning) การขึ้นรูปสิ่งทอ (Textile formation) และการตกแต่งสำเร็จ (Finishing) อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องจึงมีทั้งอุตสาหกรรมที่ผลิตเส้นใย (ในกรณีของเส้นใยประดิษฐ์) ซึ่งถือว่าเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำ (upstream) อุตสาหกรรมปั่นด้าย และอุตสาหกรรมถัก ทอผ้า ซึ่งถือว่าเป็นอุตสาหกรรมกลางน้ำ (midstream) และสุดท้ายอุตสาหกรรมฟอกย้อมและตกแต่ง ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำ (downstream) ส่วนการผลิตเสื้อผ้านั้น ถือว่าเป็นอีกกระบวนการหนึ่ง ที่แยกออกมาเนื่องจากเป็นการนำเอาสิ่งทอ ไปออกแบบและตัดเย็บตามรูปแบบที่ต้องการ
สิ่งทอเฉพาะทาง (Technical textiles)
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
สิ่งทอเฉพาะทาง (Technical textiles) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสมบัติที่เหมาะสม กับการนำไปใช้งาน ที่นอกเหนือไปจากสิ่งทอทั่วไป ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์สิ่งทอเฉพาะทางได้แก่ ถุงลมนิรภัย เข็มขัดนิรภัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป เสื้อเกราะกันกระสุน มีกระบวนการผลิตที่แตกต่างออกไป ซึ่งมักเป็นการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ โดยตรงจากเส้นใย ซึ่งเรียกว่าผ้าไม่ถักไม่ทอ หรือ นอนวูฟเวน (nonwoven) เหล่านี้กำลังมีการขยายตัวค่อนข้างสูง

เทคโนโลยีการควบคุมการขนส่ง In-Transit Visibility


เทคโนโลยีการควบคุมการขนส่ง In-Transit Visibility

เทคโนโลยีการครอบคลุมการเคลื่อนที่ การมองเห็น และการควบคุมในอุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์



Image
อุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์กำลังประสบปัญหาหลายอย่างในสภาวะเศรษฐกิจ โลกปัจจุบัน ปริมาณการขนส่งสินค้ามีจำนวนลดลงขณะที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้น 
อย่างรวดเร็ว ขณะที่การเปลี่ยนแปลงของข้อกำหนดด้านกฎระเบียบต่างๆ และการขาดแคลนพนักงานขับรถที่มีคุณภาพกำลังทำให้สถานการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้น
แม้ว่าปัญหาดังกล่าวจะเป็นที่รับรู้กันในวงกว้าง แต่ลูกค้าก็ยังต้องการบริการระดับดีเลิศเพื่อให้คุ้มค่ากับเงินที่เสียไป บริษัทด้านขนส่งจึงต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้าพร้อมๆ กับรับมือแรงกดดันด้านการแข่งขันในอุตสาหกรรมให้ได้ แต่การสร้างผลกำไรมหาศาลนั้นมีทางเดียวก็คือ เพิ่มรายได้และลดต้นทุน

          ในอุตสาหกรรมการขนส่ง การเพิ่มรายได้นั้นสามารถได้มาจากการปรับปรุงการให้บริการลูกค้า ความสามารถในการจัดการที่ดีขึ้น การระบุเส้นทางรายได้ใหม่ การจัดส่งสินค้าโดยไม่เสียหาย ไม่เกิดข้อผิดพลาด และทันเวลา ขณะที่ต้นทุนคงที่และแปรผันสามารถลดลงได้ด้วยการปรับปรุงการใช้ประโยชน์ สินทรัพย์ ทรัพยากร และคลังสินค้า การตอบสนองข้อกำหนดด้านกฎระเบียบที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งการขจัดค่าชดเชย อุบัติเหตุ และเหตุการณ์ที่กระทบต่อผลกำไร
การเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นภายในธุรกิจของคุณเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและผล กำไรให้ดีขึ้นมีอะไรบ้าง ทำความรู้จักกับเทคโนโลยีที่ช่วยในการมองเห็นระหว่างทาง (In-Transit Visibility)
แม้ว่าบริษัทด้านการขนส่งจะมีระบบส่วนหลังที่ดีเยี่ยมในการแยก วิเคราะห์ และใช้ประโยชน์ข้อมูล แต่ขณะนี้โซลูชั่นคอมพิวเตอร์แบบพกพาพร้อมใช้งานสำหรับการจัดหาข้อมูลที่มี ค่าในระดับที่ช่วยให้สามารถมองเห็นและควบคุมสินทรัพย์ ทรัพยากร และสินค้าคงคลังได้แล้ว
คำว่า In-Transit Visibility (ITV) เป็นศัพท์ที่เกิดในกระทรวงกลาโหมสหรัฐ และต่อมาได้รับการนำมาใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมภาคเอกชน โดย ITV หมายถึงความสามารถในการติดตามข้อมูลเฉพาะตัว สถานะ และตำแหน่งของสินค้า ตลอดจนการติดตามการจัดส่งจากจุดรับของไปจนจุดหมายปลายทาง การส่งมอบที่โปร่งใสสำหรับซัพพลายเชน
ทั้งนี้ ITV ช่วยเพิ่มโอกาสให้กับบริษัทด้านการขนส่งในการปรับปรุงความสามารถในการมอง เห็นสินทรัพย์ สินค้าคงคลัง และทรัพยากร ทำให้ง่ายที่จะควบคุมและยังรักษาประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายได้ นอกจากนี้ การที่ ITV สามารถเพิ่มความสามารถในการควบคุมได้ ยังทำให้ผู้ให้บริการด้านการขนส่งแตกต่างจากคู่แข่งในระดับการให้บริการ และเป็นการสร้างเส้นทางรายได้ใหม่ได้ โดยแอพพลิเคชั่น ITV สามารถมองเห็นและควบคุมสิ่งต่างๆ ได้ภายในห้องคนขับ สถานีปลายทาง/คลังสินค้า และ ณ ประตูรับส่งสินค้าของลูกค้าได้
การรับรู้ตำแหน่งที่ดีขึ้น
ก่อนหน้านี้ การรับรู้ตำแหน่งในระบบจัดส่งสินค้านั้น จะระบุได้เฉพาะตำแหน่งปัจจุบันและตำแหน่งที่ผ่านมาของยานพาหนะ แต่ปัจจุบันสามารถระบุตำแหน่งได้ล่วงหน้าโดยใช้เครื่องมือต่อไปนี้
1. ระบบนำทาง: ช่วยบอกเส้นทางที่เหมาะสมให้กับพนักงานขับรถ ซึ่งจะทำให้ลักษณะการขับขี่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แม้แต่ในกรณีที่พนักงานขับรถเลี้ยวผิด แทนที่จะต้องย้อนกลับไปยังเส้นทางเดิม ก็สามารถได้รับเส้นทางใหม่ได้โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง
ตัวอย่างเช่น  แค่ 5 ไมล์ต่อวัน (หรือ 2-3 ไมล์ และอีก 30 นาทีที่ต้องเสียไปในการถามเส้นทางกับคนในพื้นที่) สามารถประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้ 1 แกลลอน ราคาน้ำมันขณะนี้ประมาณ 4 ดอลลาร์ต่อแกลลอน ทำให้ประหยัดได้ 4 ดอลลาร์ต่อวัน ถ้าสามวันต่อสัปดาห์ ก็จะได้ 48 ดอลลาร์อต่เดือน หรือ 576 ดอลลาร์อต่อปี ในกรณีที่มีรถบรรทุก 100 คันก็จะลดลงได้ 57,600 ดอลลาร์ต่อปี
2. การปรับใช้เส้นทางที่ดีที่สุด: บริษัทสามารถใช้ประโยชน์เส้นทางที่เหมาะสมได้โดยใช้แอพพลิเคชั่นซอฟต์แวร์ ที่จะสร้างเส้นทางใหม่ที่เหมาะสมที่สุด แตกต่างจากโซลูชั่นในอดีตที่จะระบุเส้นทางที่แน่นอนโดยไม่ปรับเปลี่ยนตาม สภาพปัจจุบันที่คนขับประสบ
ถ้าไม่มีเทคโนโลยีนี้ พนักงานขับรถต้องออกไปสอบถามเส้นทางใหม่ และใช้ความชำนาญในพื้นที่หรืออาจใช้แผนที่ หรือใช้ระยะทางและเวลาเพิ่ม รวมทั้งย้อนกลับเส้นทางเดิม ณ จุดที่เขาคิดว่าเป็นเส้นทางที่ดีที่สุด ทำให้เสียทั้งเวลาและสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง
การติดตามและตรวจสอบสถานะสินค้าระหว่างทาง
ความสามารถในการมองเห็นได้ระหว่างทางทำให้ผู้ใช้สามารถรู้ตำแหน่งรถบรรทุก สินค้า และตำแหน่งที่จัดส่งสินค้า ซึ่งจะสามารถใช้ตอบคำถามได้ว่าการขนส่งอยู่ในเส้นทางหรือไม่ สินค้าส่งมอบหรือยัง ใครส่งมอบและส่งไปที่ใด ตำแหน่ที่ส่งมอบใช่จุดหมายปลายทางที่ระบุหรือไม่
การติดตามและตรวจสอบสถานะของสินค้าจะยืนยันได้ว่าการจัดส่งถูกต้องไปยังจุด หมายปลายทางที่ถูกต้อง ทันเวลา โดยไม่เสียหาย ตลอดจนมีลายเซ็นผู้รับและข้อมูลยืนยันจากการประทับตำแหน่งที่ตั้ง เวลา และข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็น
ชั่วโมงทำงาน
Image 
การจัดส่งสินค้าไม่สามารถทำได้ถ้าไม่มีคนขับ และคนขับมีกฏระเบียบที่เข้มงวดในด้านการบังคับชั่วโมงทำงาน ดังนั้น การบันทึกรายงานจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะระบุได้ว่าพนักงานขับรถดำเนินภารกิจ เสร็จสมบูรณ์ และว่างพร้อมรับการมอบหมายงานใหม่หรือไม่
โซลูชั่น ITV ช่วยให้บริษัทมองเห็นชั่วโมงทำงานของคนขับ ระบบรายงานแบบอิเล็กทรอนิกส์อัตโนมัติจะทำให้แน่ใจได้ถึงการมองเห็นชั่วโมง ทำงานจริง ณ เวลาจริง และนั่นจะช่วยให้บริษัทสามารถควบคุมทรัพยากรบุคคลที่มีค่าได้
ITV ณ สถานีปลายทาง/คลังสินค้า
พนักงาน ณ สถานีปลายทางและคลังสินค้าสามารถรู้ตำแหน่งของรถบรรทุกของบริษัทแต่ละคันและ ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพของรถ พนักงานขับรถและสินค้าแต่ละอย่างขณะขนส่งได้ด้วยเทคโนโลยีนี้
การจัดการสินทรัพย์
สินทรัพย์เคลื่อนที่ของการขนส่ง ได้แก่ รถแทรกเตอร์ รถเทรเลอร์ และรถบรรทุก ถือเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุด และต้องใช้เงินทุนในการบำรุงรักษามาก การเป็นเจ้าของสินทรัพย์จำนวนมากอาจทำให้แน่ใจได้ถึงความพร้อมในการตอบสนอง ความต้องการของลูกค้า แต่อาจทำให้เสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น
การสร้างสมดุลที่เหมาะสมที่สุดคือการมีรถบรรทุกที่เพียงพอแต่ต้องไม่มากเกิน ไปที่จะบำรุงรักษาได้ วิธีเดียวที่จะสร้างประโยชน์ให้กับบริษัทก็คือการต้องรู้ให้ได้ว่ามีรถคัน ไหนว่างอยู่และพร้อมใช้งานหรือไม่
เศรษฐกิจปัจจุบันมีต้นทุนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและค่าจ้างสูง สินทรัพย์ต้องได้รับการตรวจสอบอย่างใกล้ชิดเพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่าง มีประสิทธิภาพบนท้องถนน ซึ่งเกี่ยวข้องกับปัจจัยสองประการ ได้แก่ การดำเนินการสินทรัพย์ และประสิทธิภาพของสินทรัพย์นั้น
การจัดการสินทรัพย์ – เทคโนโลยี ITV ทำให้สามารถมองเห็นเส้นที่ที่คนขับใช้สินทรัพย์ของบริษัท โดยระบบเทเลเมติกส์ และเซ็นเซอร์ต่างๆ เช่น การวัออัตราเร่งเครื่องยนต์ แรงเบรก และวิเคราะห์รูปแบบการขับ ช่วยให้บริษัทสามารถปรับการขับขี่ที่หนักเกินไปและไม่ระมัดระวังที่จะสิ้น เปลืองเชื้อเพลิง และสร้างความเสี่ยงด้านกฎหมายให้กับบริษัทได้
ประสิทธิภาพของสินทรัพย์ – ITV จะช่วยวัดประสิทธิภาพของการดำเนินการสินทรัพย์โดยอาศัยอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เซ็นเซอร์เบรก เซ็นเซอร์วัดลมยาง ตัวตรวจสอบ RPM และ MPG เซ็นเซอร์วัดสภาพอากาศด้านนอก และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ให้ความสามารถในการมองเห็นได้ในเวลาจริงเป็นรายละเอียดที่สำคัญที่จะแจ้ง เตือนให้บริษัททราบถึงความล้มเหลวที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งการบำรุงรักษาที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของยานพาหนะได้
ตัวอย่างของการสร้างผลกำไร
บริษัท เอบีซี คอร์ป. มีรถบรรทุกสินค้า 1,000 คัน ขนส่งได้ 1,700 เที่ยวต่อวัน หรือ 1.7 เที่ยวต่อรถหนึ่งคันในหนึ่งวัน โดยมีรายได้เฉลี่ย 500 ดอลลาร์ต่อเที่ยว หรือ 850 ดอลลาร์ต่อวันต่อรถบรรทุก ถ้าบริษัท เอบีซี สามารถเพิ่มเที่ยวจาก 1.7 เป็น 1.8 ได้ด้วยการใส่ใจในรายละเอียดเกี่ยวกับรถบรรทุกที่มีและรู้ว่ารถคันไหนว่าง พร้อมใช้งาน ก็จะเพิ่มได้ 50,000 ดอลลาร์ต่อวัน หรือ 13 ล้านดอลลาร์ต่อปี
การจัดการทรัพยากรมนุษย์
ผู้จัดการฝ่ายดำเนินการสามารถจับคู่คนขับที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดกับงาน ได้ โดยดูจากเวลาและการทำงานของพนักงานผ่านข้อมูลที่ได้รับ นอกจากนี้ ITV ยังทำให้รู้ได้ว่ามีพนักงานขับรถที่เพียงพอที่จะตอบรับการมอบหมายงานใหม่ หรือไม่ ITV ยังให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ ของพนักงานขับรถได้ เช่น ใบขับขี่ การฝึกอบรม ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาเลือกคนขับที่ดีที่สุดในแต่ละงานได้
การรับรู้ตำแหน่ง
ปัจจุบัน เทคโนโลยีการรับรู้ตำแหน่งไม่เพียงแต่ทำให้พนักงาน ณ คลังสินค้า หรือสถานีปลายทางระบุตำแหน่งยานพาหนะได้ แต่ยังรู้ด้วยว่าทรัพยากรมนุษย์และสินค้ามีสถานะใดโดยใช้ ITV ระบุตำแหน่งของรถบรรทุกและคนขับที่อยู่บนถนน และที่พักผ่อนอยู่ ทำให้สามารถรู้ได้ว่าใครพร้อมจะปฏิบัติงานได้บ้าง
การจัดการสินค้าคงคลังและการจัดส่ง
ITV ทำให้ผู้ใช้สามารถมองเห็นสินค้าได้อย่างใกล้ชิด สินค้าแต่ละรายการจะถูกสแกนอย่างรวดเร็วและง่ายดายเมื่อขนถ่ายขึ้นและลง จากรถบรรทุก นอกจากนี้ ITV ยังให้หลักฐานการส่งมอบในเวลาจริง จับภาพลายเซ็น แม้แต่รูปถ่ายดิจิทัลของสินค้าที่ส่งมอบ ทำให้การชำระเงินค่าบริการรวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังเป็นการนำเสนอบริการที่เพิ่มเติมให้กับลูกค้าได้
ITV ณ ประตูของลูกค้า
หน้าประตูรับส่งสินค้าของลูกค้าในแต่ละจุดที่ผู้ให้บริการขนส่งต้องเก็บรวบ รวมข้อมูลจะเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่าสินค้าจัดส่งทันเวลา โดยไม่เกิดความเสียหายและสมบูรณ์ เทคโนโลยี ITV ให้หลักฐานหลายอย่าง ได้แก่ การจับภาพลายเซ็นแบบดิจิทัล หลักฐานการส่งมอบ/บริการในรูปของเอกสารที่ละเอียด และคุณภาพของบริการในรูปของรายงานขั้นสูงที่สามารถสร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจ ได้ เนื่องจากการมีข้อมูลจริงที่รวบรวมได้ ณ จุดปฏิบัติงานและสามารถพร้อมใช้กับระบบส่วนหลังขององค์กรได้ทันที จะช่วยให้การดำเนินการขนส่งลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นออกไปได้ เช่น การโทรสอบถามจากลูกค้าว่าสินค้าถึงหรือยัง และสามารถตรวจสอบรายลเอียด เช่น วันที่และเวลาการลงนามของลูกค้าและผู้ที่ทำหน้าที่ส่งมอบได้ด้วย นอกจากนี้ การใช้ระบบจีพีเอสยังสามารถระบุตำแหน่งการส่งมอบที่แม่นยำ และให้การตรวจสอบเวลาของบริการที่จัดส่งได้
วิธีเลือกโซลูชั่น ITVต้องเป็นโซลูชั่นที่จัดการง่าย เป็นฮาร์ดแวร์ที่เหมาะสมกับสรีรศาสตร์และสะดวกสบายสำหรับผู้ใช้ที่ต้องใช้ งานในแต่ละวัน ต้องเป็นเทคโนโลยีที่ใช้งานง่าย เป็นโซลูชั่นที่ยืดหยุ่นสามารถใช้งานร่วมกับหลายเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นสแกนเนอร์ อิเมจเจอร์ โทรศัพท์มือถือ ระบบสื่อสารข้อมูลและเสียงด้วยจีพีเอส นอกจากนี้ ยังต้องเป็นอุปกรณ์ที่ทนทาน ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการเป็นเจ้าของโดยรวมลดลงเนื่องจากอายุการใช้งานที่ยาวนาน ซ่อมบำรุงน้อย และสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง
เลือกโซลูชั่นที่มีแพลตฟอร์มเดียวที่สามารถใช้แอพพลิเคชั่นได้จำนวนมาก โซลูชั่น ITV ที่ดีที่สุดควรเป็นอุปกรณ์เดียวที่สามารถใช้ในที่นั่งคนขับรถบรรทุก ประตูของลูกค้า ระบบสำนักงานส่วนหลังและคลังสินค้า
วิธีเลือกผู้ให้บริการแอพพลิเคชั่น ITV
การขนส่งไม่ใช่เพียงแค่การขนส่ง ในแต่ละส่วนของอุตสาหกรรมมีความแตกต่างกันทั้งในด้านระดับความสำคัญและราย ละเอียด ดังนั้นแอพพลิเคชั่นเดียวจึงไม่เหมาะกับทั้งหมด ให้เลือกผู้ให้บริการแอพพลิเคชั่นที่นำเสนอแคตตาล็อกที่ครอบคลุมของโซลูชั่น ธุรกิจหรือผู้ให้บริการที่สามารถแสดงให้เห็นได้ว่าสามารถตอบสนองความต้องการ เฉพาะของคุณได้ โปรดจำไว้ว่า ควรเลือกผู้ให้บริการที่มีโซลูชั่นที่มีมาตรฐานแบบเปิด ไม่ใช่ทำงานได้เฉพาะกับระบบเฉพาะที่มีขีดจำกัดเท่านั้น
โซลูชั่นที่เลือกจะต้องสามารถปรับปรุงความสามารถในการผลิต ปรับปรุงการให้บริการลูกค้า และสามารถสร้างบริการที่แตกต่างเพื่อสร้างรายได้ให้บริษัทเพิ่มขึ้นได้
บทสรุป
 ITV สร้างประโยชน์ห้กับบริษัทด้านการขนส่งได้ด้วยการส่งมอบความสามารถในการมอง เห็นและควบคุมสินทรัพย์ ทรัพยากร การจัดส่งและข้อมูลที่จะสนับสนุนการประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มโอกาสทางรายได้ ข้อดีเหล่านี้ส่งผลให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจเพิ่มขึ้น และเพิ่มความโปร่งใสให้กับซัพพลายเชนไม่ว่าจะทางตรงหรือผ่านทางผู้ให้บริการ ซัพพลายเชนที่พวกเขาเลือก


เทคโนโลยีวัสดุ

เทคโนโลยีวัสดุ      วัสดุ (Materials) หมายถึง สิ่งของหรือวัตถุที่นำมาใช้ประกอบกันเป็นชิ้นงานตาม การออกแบบ มีตัวตน สามารถสัมผัสได้และมีคุณสมบัติเฉพาะตัวทางฟิสิกส์ ทางเคมี ไฟฟ้า หรือคุณสมบัติเชิงกลแตกต่างกัน (ไพฑูรย์ ประสมศรี, 2543)

    วัสดุศาสตร์ (Materials Science) คือ การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับวัสดุ เป็นการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ เพื่ออธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบพื้นฐานของวัสดุ และการจัดเรียงตัวในระดับอะตอม และสมบัติของวัสดุ ซึ่งความรู้ดังกล่าวนี้ จะนำมาผลิตหรือสร้างเป็นผลิตภัณฑ์พร้อมทั้งหาค่าสมรรถนะในการใช้งานของผลิตภัณฑ์ ความรู้ที่นำมาใช้นั้นจะมีลักษณะเป็นสหวิทยาการ คือการใช้ความรู้ในหลายๆ แขนงมาร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันวัสดุศาสตร์ได้เข้าไปมีบทบาทอย่างมากมายในเกือบจะทุกผลิตภัณฑ์ ดังนั้น วัสดุศาสตร์จึงยิ่งจำเป็นต้องใช้ความรู้หลายแขนงวิชา ไม่ว่าจะเป็นความรู้ทางฟิสิกส์ เคมี วิศวกรรม ชีววิทยา ไฟฟ้า คณิตศาสตร์ หรือ การแพทย์ เข้ามาร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาหรืออธิบายสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับวัสดุและสมบัติที่สนใจ

    งานของนักวัสดุศาสตร์ หรือผู้ที่ทำงานทางด้านการศึกษาวัสดุ จึงเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างของวัสดุ ศึกษาทดสอบสมบัติในลักษณะต่างๆ ของวัสดุนั้น ค้นหาวิธีที่จะสามารถสังเคราะห์ หรือผลิตวัสดุนั้นขึ้นมา และนำวัสดุนั้นไปเลือกใช้งานเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม เพื่อนำไปสู่ประโยชน์และสมรรถนะในการใช้งานอย่างสูงสุด (จินตมัย สุวรรณประทีป,Online)


5.1.1 วัสดุศาสตร์อยู่รอบตัวเรา ในชีวิตประจำวันมนุษย์ต้องมีการใช้งานวัสดุต่างๆอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากในการดำเนินชีวิตหรือการทำงานต้องสัมผัสกับวัสดุมากมาย ดังนั้นวัสดุศาสตร์จึงมีความสำคัญต่อมนุษย์เราอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุค IT (Information Technology)ที่จะต้องมีการติดต่อสื่อสารอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ปัจจุบันจึงมีการพัฒนาวัสดุที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้คอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานด้วยความเร็วสูงขึ้น แต่มีขนาดที่เล็กลง หรือการผลิตโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ๆ ที่มีการทำงานที่เพิ่มมากขึ้นจนแทบจะไม่ต่างจากคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่อาศัยความก้าวหน้าทางวัสดุศาสตร์หรือไม่ว่าจะเป็นวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ วัสดุนำแสง หรือวัสดุแม่เหล็ก แม้การสื่อสารที่มีการพัฒนาขึ้นอย่างมาก ทำให้สามารถติดต่อกันได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว แม้จะอยู่ห่างไกลกัน อย่างไรก็ตามการเดินทาง และการขนส่งคงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอยู่ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งสินค้า หรือการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยว เพื่อธุรกิจ หรือแม้แต่ภารกิจสำรวจอวกาศ วัสดุศาสตร์ เป็นอีกหนึ่งเบื้องหลังความสำเร็จที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกระสวยอวกาศ รถไฟความเร็วสูง รถยนต์รุ่นใหม่ๆ ที่มีความปลอดภัย และประหยัดเชื้อเพลิงมากขึ้น

วัสดุศาสตร์มีบทบาทสำคัญต่อการรักษาโรคและบำรุงสุขภาพของมนุษย์ วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ประเภทต่างๆ ได้รับการวิจัย และพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการรักษา ทดแทน แก้ไขปัญหาต่างๆในการรักษาโรค ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดได้แก่ คอนแทคเลนส์ กระดูกเทียม ข้อต่อเทียม แขน-ขาเทียม หรือ แผ่นเมมเบรนปิดแผลลดแผลเป็นบนผิวหนัง แปรงสีฟันยุคใหม่ ที่ขนแปรงทำด้วยไนล่อน ซึ่งมีความยืดหยุ่น และคืนรูปได้ดี เลนส์แว่นตากันแดดที่สามารถเปลี่ยนสีได้ตามความเข้มของแสงซึ่งจัดเป็นวัสดุฉลาด (smart materials) ซึ่งสามารถพัฒนาและปรับตัวต่อสภาพแรงกระตุ้นจากภายนอก ที่มาสู่ตัววัสดุได้ด้วยตัวเอง เป็นต้น


วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในปี พ.ศ. 2548
เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (อังกฤษ: Information technology หรือ IT) หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คอมพิวเตอร์, การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกมากมาย องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น เซิร์ฟเวอร์ (คอมพิวเตอร์) เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเครือข่าย (การสื่อสาร) โดยมีการส่งข้อมูลต่างๆ ไปยังเครื่องลูก (ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย)
โดยมหาวิทยาลัยแรกที่เปิดสอนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศคือ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ในบางครั้งจะมีการใช้ชื่อว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (information and communications technology ย่อว่า ICT)

เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร

เทคโนโลยีทางการแพทย์

เทคโนโลยีทางการแพทย์

เทคโนโลยีสมัยใหม่สามารถใช้ได้ในการแพทย์
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นโรคที่พบบ่อย และเป็นมัจจุราชเงียบที่คร่าชีวิตประชากรโลกในแต่ละปีเป็นอันดับต้นๆ
โรคนี้เกิดจากการที่หลอดเลือดโคโรนารีซึ่งส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการตีบแคบหรือถูกอุดกั้น ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และออกซิเจน เมื่อผู้ป่วยเกิดสภาวะหลอดเลือดอุดตันก็จะมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยง่ายเวลาออกกำลังกาย และหากหลอดเลือดโคโรนารีเกิดการอุดตันอย่างสมบูรณ์ ก็อาจทำให้เกิดอาการหัวใจวายเฉียบพลัน (Acute heart attack) และเสียชีวิตได้ในที่สุด ดังนั้น ยิ่งตรวจเจอโรคนี้เร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งช่วยรักษาชีวิตให้ยืนยาวได้มากขึ้นเท่านั้น
การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบสามารถทำได้โดยการตรวจร่างกาย ประวัติความเจ็บป่วย และการใช้เครื่องมือพิเศษ เช่น Electrocardiography (คลื่นไฟฟ้าหัวใจ) Echocardiography (Ultrasound heart) Magnetic resonance imaging (MRI) เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (Multi detector computed tomography) หรือ การตรวจสวนหัวใจ (Cardiac catheterization) ซึ่งถือเป็น Gold Standard ในการตรวจหลอดเลือดหัวใจโดยตรง เพราะเห็นพยาธิสภาพที่เกิดในหลอดเลือดหัวใจอย่างชัดเจน แต่วิธีการนี้อาจจะไม่สะดวกสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบแต่มีอาการน่าสงสัย เพราะจะต้องสอดใส่อุปกรณ์การตรวจเข้าไปภายในร่างกาย
ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่เจริญก้าวหน้า เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography) จึงได้รับการพัฒนาอย่างมากจนเป็น Multi slice CT scan (MSCT) ซึ่งถูกนำมาใช้ในการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยนวัตกรรมล่าสุด คือ เครื่อง 256-slice multi-detector CT scan ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และด้วยความพร้อมด้านการแพทย์ระดับแนวหน้าผสานกับประสบการณ์การรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดมากที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค วันนี้โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ พร้อมแล้วที่จะก้าวไปสู่การตรวจรักษาโรคหัวใจแห่งศตวรรษที่ 21 ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงสุด 256-slice multi-detector CT scan เครื่องแรกในประเทศไทย
256-slice multi-detector CT scan ได้รับการพัฒนาจากเครื่อง 64-slice CT scan ที่ถูกนำมาใช้ในการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตั้งแต่ปี 2547 แม้ว่าเครื่อง 64- slice CT scan จะสามารถใช้อย่างได้ผลและสะดวกขึ้นเมื่อเทียบกับการตรวจสวนหัวใจ ทั้งยังสามารถบอกปริมาณคราบหินปูนที่จับเกาะอยู่ในผนังหลอดเลือดโคโรนารี ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นตัวพยากรณ์ความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบใน อนาคตร่วมกับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้ แต่เครื่อง 64-slice CT scan ก็ยังมีข้อจำกัดในการตรวจหาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในผู้ป่วยที่มีอัตราการเต้น ของหัวใจเร็วกว่า 70 ครั้งต่อนาที หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดอื่นๆ
ดีอย่างไร
256-slice multi-detector CT scan สามารถใช้ตรวจหาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ในผู้ป่วยที่มีอัตราการเต้นของหัวใจเร็วกว่า 70 ครั้งต่อนาที เครื่องนี้ยังมีข้อดีกว่าคือให้ภาพผลการตรวจที่คมชัดกว่า ครอบคลุมอาณาบริเวณของอวัยวะที่ต้องการตรวจมากกว่า มีความแม่นยำสูง เวลาที่ใช้ในการตรวจน้อยกว่า อีกทั้งการหมุนของเครื่องสแกนต่อรอบกินเวลาเพียง 0.27 วินาที ทำให้ผู้ป่วยได้รับรังสีเอกซเรย์ในการรับการตรวจวินิจฉัยโรคน้อยลงถึง 80%
256-slice multi-detector CT scan จะแสดงภาพอวัยวะที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เช่น หัวใจ ให้ภาพที่มีความละเอียดสูงจนสามารถใช้ตรวจดูภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ นอกจากนี้ ยังสามารถตรวจปริมาณการสะสมของหินปูนในผนังหลอดเลือด และความผิดปกติของหลอดเลือดได้ในคราวเดียวกัน ทั้งยังให้ผลเบื้องต้นที่รวดเร็วกว่า เนื่องจากใช้เวลาในการตรวจน้อยกว่า และข้อมูลจากการตรวจจะได้รับการแปลผลโดยรังสีแพทย์และอายุรแพทย์โรคหัวใจ ทำให้ทราบผลได้เร็ว (ภายในเวลาเพียง 1-2 ชั่วโมงกรณีเร่งด่วน) 
เหมาะกับใครบ้าง
การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่อง 256-slice multi-detector CT scan จึงนับเป็นวิธีตรวจวินิจฉัยที่เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเล็กน้อยถึงปานกลาง และมีอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบไม่ชัดเจน เพราะวิธีนี้ทำได้รวดเร็วและมีความแม่นยำสูง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีปริมาณคราบหินปูนเกาะอยู่บริเวณผนังของหลอดเลือดโคโรนารีไม่มากนัก
กลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ไม่ว่าจะเป็นชายอายุ 40 ปีขึ้นไป หญิงอายุ 55 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะของการเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ เครียด ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือมีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ว่าควรระมัดระวัง และตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพราะโรคนี้อันตรายถึงชีวิต
การปฏิบัติตัวเพื่อรับการตรวจ
  1. งดอาหารอย่างน้อย 4 ชั่วโมง ก่อนการตรวจหลอดเลือดหัวใจ (coronary angiogram) ในการตรวจหาปริมาณหินปูนที่เกาะตามผนังหลอดเลือด (calcium scoring)ไม่ต้องงดอาหารก่อนตรวจ
  2. หากมียาที่รับประทานประจำ ให้รับประทานยาได้ตามปกติจนถึงเช้าวันตรวจ
  3. ควรดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย 2 ลิตรต่อวัน หลังการตรวจ

การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต
การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต (Hematopoietic stem cell transplantation) เป็นวิทยาการความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ ที่สามารถรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคร้ายแรงหลายชนิดให้มีโอกาสหายขาดได้ โดยความสำเร็จขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย และจิตใจของผู้ป่วย การมีผู้บริจาค stem cell ที่เหมาะสม ประสบการณ์ความพร้อม ความเชี่ยวชาญของแพทย์ และพยาบาลผู้ดูแลรักษา และที่สำคัญคือกำลังใจจากบิดามารดา ผู้ปกครอง และญาติพี่น้องของผู้ป่วย หรือจากบุคคลใกล้ชิด
เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต (Hematopoietic stem cells) คืออะไร ?
คือ เซลล์ตัวอ่อน หรือเซลล์ต้นกำเนิด (parent cells) ที่อยู่ในไขกระดูก ซึ่งสามารถเจริญเติบโต และแบ่งตัวพัฒนาไปเป็นเซลล์เม็ดเลือดชนิดต่างๆ คือ
  1. เม็ดเลือดแดง มีหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย
  2. เม็ดเลือดขาว มีหน้าที่ต่อต้าน และทำลายเชื้อโรคต่างๆ ที่รุกรานร่างกาย
  3. เกร็ดเลือด มีหน้าที่ห้ามเลือดจากบาดแผล ช่วยให้เลือดหยุดไหล
การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต (Stem Cell Transplantation) คืออะไร ?
คือ การเปลี่ยนหรือแทนที่ stem cell ที่ผิดปรกติด้วย stem cell ที่ปรกติ Stem cell ที่ปรกตินั้นได้มาจากผู้บริจาค และนำมาให้แก่ผู้ป่วย (ผู้รับ) หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับยาเคมีบำบัดหรือรังสีรักษาขนาดสูง ที่เรียกว่า "การเตรียมสภาพผู้ป่วย" (Conditioning) ซึ่งใช้เวลานาน 5-9 วัน แล้วแต่โรค และสภาพของผู้ป่วย
ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง เหตุผลที่ผู้ป่วยต้องได้รับการเตรียมสภาพก็เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งที่ยังเหลือซ่อนเร้นในร่างกาย ในเด็กที่ป่วยด้วยโรคทางพันธุกรรม การเตรียมสภาพเพื่อทำให้เกิดที่ว่างในไขกระดูกผู้ป่วย เพื่อให้ stem cell จากผู้บริจาคมีที่ที่จะเจริญเติบโต และเพื่อกดภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยไม่ให้ต่อต้าน stem cell ของผู้บริจาค ต่อจากระยะการเตรียมสภาพ จะเป็นระยะเวลาของการปลูกถ่าย โดยการให้ stem cell เข้าไปในตัวผู้ป่วยผ่านทางสายสวนเส้นเลือดดำใหญ่ ด้วยวิธีการคล้ายคลึงกับการให้เลือด (blood transfusion) ไม่จำเป็นต้องฉีดโดยตรงเข้าไปในไขกระดูกผู้ป่วย Stem cell นั้นจะไหลเวียนในกระแสเลือดผู้ป่วย และเข้าไปอยู่ในไขกระดูกได้เอง จากนั้นจะเริ่มเจริญเติบโตต่อไป
ใครควรได้รับการปลูกถ่าย stem cell ?
  1. ผู้ป่วยที่เป็นโรคของไขกระดูกหรือความบกพร่องหรือผิดปรกติของเซลล์ในไขกระดูก เช่น โรคไขกระดูกฝ่อชนิดรุนแรง โรคโลหิตจางเบต้าธาลัสซีเมีย โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กำเนิด
  2. ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งบางชนิด ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็ง
    ต่อมหมวกไต มะเร็งเนื้อเยื่อ
  3. ผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคทางพันธุกรรมหรือมีความผิดปรกติทางเมตาบอลิคบางชนิด

แหล่งของเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตหาได้จากไหน ?
  1. ไขกระดูก โดยการเจาะดูดไขกระดูกที่บริเวณกระดูกเชิงกราน (กระดูกสะโพก) ด้านหลัง ผู้บริจาคจำเป็นต้องได้รับการวางยาสลบขณะที่ทำการดูดไขกระดูก หลังการบริจาค เซลล์ในไขกระดูกจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนขึ้นมาทดแทนได้เอง ไม่มีการสูญเสียอวัยวะ หรือสมรรถภาพใดๆ ทั้งสิ้น
  2. กระแสเลือด โดยฉีดยากระตุ้น G-CSF ให้เซลล์ในไขกระดูกแบ่งตัวเพิ่มจำนวน แล้วออกมาไหลเวียนในกระแสเลือด จากนั้นนำเลือดของผู้บริจาคผ่านเครื่องมือคัดแยก stem cell เก็บไว้ แล้วคืนเลือด และพลาสมากลับสู่ร่างกายผู้บริจาค เป็นวิธีที่ผู้บริจาคจะรู้ตัวดีตลอด ไม่ต้องวางยาสลบ ลักษณะการบริจาคคล้ายคลึงกับการบริจาคโลหิต
  3. เลือดจากสายสะดือ และรกของเด็กทารกแรกเกิด ซึ่งวงการแพทย์ค้นพบว่าอุดมไปด้วยเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต เป็นการนำสิ่งที่เคยถูกละทิ้งไปในอดีตมาทำให้เกิดประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วย วิธีการทำโดยการเก็บทันทีหลังจากทารกเพิ่งคลอด และผูกตัดสายสะดือแล้ว ด้วยวิธีปราศจากเชื้อโรค และป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัวเป็นลิ่มเลือด จากนั้นทำการเตรียม และเก็บสงวน cord blood ไว้ในสภาพแช่แข็งในถังไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิเย็นจัด
ใครสามารถเป็นผู้บริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ?
ผู้บริจาค stem cell ควรเป็นผู้ที่มีหมู่เนื้อเยื่อ HLA 6 หมู่หลักตรงกันหรือเข้ากันได้กับผู้ป่วยจึงจะมีโอกาสปลูกถ่ายติดสำเร็จสูง และเกิดภาวะแทรกซ้อน Graft-versus-Host disease (GvHD) น้อยหรือไม่เกิดเลย หมู่ HLA หรือ Human Leukocyte Antigen หลักดังกล่าวประกอบด้วย HLA-A, -B, -DR อย่างละ 2 ตำแหน่ง
ผู้บริจาคส่วนใหญ่ที่หาได้มักจะเป็นพี่หรือน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ป่วย เนื่องจากโอกาสที่พี่น้องจะมี HLA ตรงกันทุกประการเท่ากับร้อยละ 25 หรือ 1 ใน 4 ส่วนตัวบิดามารดาเองจะมี HLA ตรงกับผู้ป่วยเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น
ถ้าผู้ป่วยเป็นบุตรคนเดียว หรือไม่มีพี่น้องที่มี HLA ตรงกัน แพทย์สามารถสรรหาผู้บริจาคที่เป็นอาสาสมัคร (Unrelated, volunteer donor) ได้จากศูนย์กลางการขึ้นทะเบียนอาสาสมัครบริจาค stem cell คนไทยที่เรียกว่า National Stem Cell Donor Registry ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย นอกจากนี้ ศูนย์ฯ ยังเป็นสื่อกลางในการติดต่อแสวงหาผู้บริจาคจากต่างประเทศด้วย
กระบวนการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตโดยสังเขป
หลังจากผู้ป่วยได้รับการเตรียมสภาพ และได้รับการปลูกถ่าย ต้องใช้เวลานาน 2-3 สัปดาห์กว่าที่ stem cell ใหม่จะเริ่มปลูกติด ผู้ป่วยต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ในห้องเดี่ยวปลอดเชื้อที่ติดตั้งเครื่องกรองเชื้อโรค ฝุ่นละออง และเป็นแรงดันบวก ผู้ป่วยได้รับการเฝ้าระวังป้องกันรักษาภาวะแทรกซ้อน ต้องได้รับยาป้องกันการติดเชื้อ ต้องได้รับเลือด และเกร็ดเลือดที่ผ่านการเตรียมอย่างพิเศษ ได้รับยาช่วยกระตุ้นการปลูกถ่ายติด และยากดภูมิต้านทานเพื่อป้องกันภาวะ GvHD ผู้ป่วยบางรายต้องได้รับสารอาหารทางหลอดเลือด ผู้ป่วยมักต้องพักอยู่ในโรงพยาบาลนานประมาณ 6-8 สัปดาห์จึงจะฟื้นตัวแข็งแรงพอที่จะสามารถกลับบ้านได้
  

เทคโนโลยีการศึกษา

เทคโนโลยีการศึกษา
เทคโนโลยีการศึกษา เน้นเรื่อง วิธีการ ระบบ และเครื่องมือ เพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เทคโนโลยีการศึกษากับนวัตกรรมการศึกษาดูจะใกล้เคียงกันมาก เนื่องจากนวัตกรรมการศึกษา เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ ๆ มาใช้ในการศึกษา ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เป็นผลผลิตจากการพัฒนาของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงมีผู้เปรียบเทียบว่า ถ้านวัตกรรมการศึกษาเป็นหน่อไม้ เทคโนโลยีการศึกษาเปรียบเหมือนกอไผ่ ซึ่งรวมทั้งลำไผ่เดี่ยวๆ และกอไผ่ การเรียนการสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา ได้มีการเปิดสอนใน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่เทคโนโลยีการศึกษา ที่ใช้ชื่อ เทคโนโลยีทางการศึกษา ซึ่งไม่ว่าชื่อจะแตกต่างอย่างไร เนื้อหาของวิชาการเทคโนโลยีการศึกษาก็เป็นเนื้อหาเดียวกัน ปัจจุบันได้มีสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เปิดสอนสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา 22 สถาบันดังต่อไปนี้
  • 1.คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • 3.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • 4.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • 5.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • 6.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • 7.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 8.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • 9.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • 10.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • 11.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลันเรศวร
  • 12.คณะครุศาสตร์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • 13.คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • 14.คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • 15.คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • 16.คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • 17.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
  • 18.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงค์ชวลิตกุล
  • 19.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์น
  • 20.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • 21.สำนักวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • 22.คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎ

เทคโนโลยีชีวภาพ

เทคโนโลยีชีวภาพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โครงสร้างของอินซูลิน
เทคโนโลยีชีวภาพ (อังกฤษ: Biotechnology) คือ ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้สิ่งมีชีวิต หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น เอนไซม์ หรือโปรตีนชนิดต่างๆ เป็นต้น เพื่อให้เกิดประโยชน์กับมนุษยชาติ
ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพอาจก่อให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ส่งผลให้เกิดกระบวนการสร้าง กระบวนการทำลาย หรือการก่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่ดำเนินอยู่ในสิ่งมีชีวิต ซึ่งกระบวนการ ทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เป็นผลมาจากการทำงานของสารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ และหน่วยพันธุกรรมหรือยีน การศึกษางานด้านเทคโนโลยีชีวภาพจึงต้องอาศัยความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับสารพันธุกรรม และพฤติกรรมของสารพันธุกรรม รวมทั้งวิธีการสำคัญต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการด้านเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการ นำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติก็คือ เทคโนโลยีการหมัก (Fermentation Technology) และ เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ คือ เทคโนโลยีรีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอ (DNA Recombinant Technology) หรือ พันธุวิศวกรรม (genetic engineering