วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555

คำราชาศัพท์ใช้สำหรับบุคคลทั่วไป


คำราชาศัพท์ใช้สำหรับบุคคลทั่วไป
          การใช้ถ้อยคำสำหรับบุคคลทั่วไปจำเป็นต้องใช้ให้เหมาะสมกับฐานะ และความสัมพันธ์ระหว่างผู้สื่อสาร กาละและเทศะ ซึ่งการสื่อสารระหว่างสุภาพชนควรหลีกเลี่ยงสิ่งต่อไปนี้
๑. คำห้วน หรือคำกระด้าง เช่น เออ โว้ย หือ หา ไม่รู้
๒. คำหยาบ ไม่ควรใช้ เพราะจะติดเป็นนิสัย เช่น ไอ้ อี ขี้ เยี่ยว
๓. คำคะนอง หรือคำสแลง หมายถึง คำที่อยู่ในความนิยมเป็นพัก ๆ เช่น เก๋ เจ๋ง ซ่าส์ ฯลฯ
๔. คำผวน หรือคำที่เวลาผวนกลับแล้วเป็นคำหยาบ เช่น เสือกะบาก (สากกะเบือ)
๕. คำที่ต้องไม่ใช้ในสถานการณ์ที่ต้องการความสุภาพ หรือในที่ชุมชน เช่น กิน หัว เกือก ผัว เมีย เอามา ฯลฯ
คำที่ไม่ควรใช้ในการสื่อสารที่เป็นทางการ
คำที่ควรใช้แทน

คำที่ไม่ควรใช้ในการสื่อสารที่เป็นทางการ
คำที่ควรใช้แทน
ตีนเท้าเห็นด้วยเห็นสมควร
ปวดหัวปวดศีรษะของตากแดดของผึ่งแดด ของตากแห้ง
กินรับประทานเอามานำมา
รู้แล้วทราบแล้วรู้ทราบ
หมาสุกรหัวศีรษะ
หมาสุนัขผัว เมียสามี ภรรยา
ควายกระบือวัวโค

การใช้คำขึ้นต้น คำสรรพนาม และคำลงท้ายในการเขียนหนังสือ 
ใช้กับ
คำขึ้นต้น
คำสรรพนาม
คำลงท้าย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขอเดชะฝ่าละอองธุลีพรบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า (ออกชื่อเจ้าของหนังสือ)
ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสกราบบังคมทูล
พระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
บุรุษที่ ๑-ข้าพระพุทธเจ้า
บุรุษที่ ๒-ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า...(ลงชื่อ) (หรือจะเอาคำว่า
ขอเดชะมาไว้ท้ายชื่อเจ้าของหนังสือก็ได้)
สมเด็จพระบรมราชินีนาถขอเดชะฝ่าละอองธุลีพรบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า (ออกชื่อเจ้าของหนังสือ)
ขอพระราชทานพระราชวโรกาสกราบบังคมทูล
ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
บุรุษที่ ๑-ข้าพระพุทธเจ้า
บุรุษที่ ๒-ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า...(ลงชื่อ) (หรือจะเอาคำว่า
ขอเดชะมาไว้ท้ายชื่อเจ้าของหนังสือก็ได้)
สมเด็จพระราชินี
สมเด็จพระบรมราชชนนี
สมเด็จพระยุพราช
( สยามมกุฎราชกุมาร)
สมเด็จพระบรมราชกุมารี
ขอพระราชทานกราบบังคมทูล ... (ออกพระนาม)...
ทราบฝ่าละอองพระบาท
บุรุษที่ ๑-ข้าพระพุทธเจ้า
บุรุษที่ ๒-ใต้ฝ่าละอองพระบาท
ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า...(ลงชื่อ)
สมเด็จเจ้าฟ้าขอพระราชทานกราบทูล...(ออกพระนาม)....
ทราบฝ่าพระบาท
บุรุษที่ ๑-ข้าพระพุทธเจ้า
บุรุษที่ ๒-ใต้ฝ่าพระบาท
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า
โปรดกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า...(ลงชื่อ)
พระบรมวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าขอประทานกราบทูล...(ออกพระนาม)...
ทราบฝ่าพระบาท
บุรุษที่ ๑-ข้าพระพุทธเจ้า
บุรุษที่ ๒-ใต้ฝ่าพระบาท
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า
โปรดกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า...(ลงชื่อ)
พระเจ้าวรวงศ์เธอ
(ที่มิได้ทรงกรม)
พระอนุวงศ์ชั้นพระวรวงศ์เธอ
(ที่ทรงกรม)
กราบทูล...(ออกพระนาม)...ทราบฝ่าพระบาทบุรุษที่ ๑-(ชาย) เกล้ากระหม่อม
(หญิง) เกล้ากระหม่อมฉัน
บุรุษที่ ๒-ฝ่าพระบาท
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
พระอนุวงศ์ชั้นพระวรวงศ์เธอ
(ที่มิได้ทรงกรม)
ทูล...(ออกพระนาม)...ทราบฝ่าพระบาทบุรุษที่ ๑-(ชาย) กระหม่อม
(หญิง) หม่อมฉัน
บุรุษที่ ๒-ฝ่าพระบาท
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าทูล...(ออกพระนาม)...บุรุษที่ ๑-(ชาย) กระหม่อม
(หญิง) หม่อมฉัน
บุรุษที่ ๒-ฝ่าพระบาท
แล้วแต่จะโปรด
สมเด็จพระสังฆราชเจ้าขอประทานกราบทูล...(ออกพระนาม)...บุรุษที่ ๑-ข้าพระพุทธเจ้า
บุรุษที่ ๒-ใต้ฝ่าพระบาท
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า
โปรดกระหม่อม
สมเด็จพระสังฆราชกราบทูล..........บุรุษที่ ๑-(ชาย) เกล้ากระหม่อม
(หญิง) เกล้ากระหม่อมฉัน
บุรุษที่ ๒-ฝ่าพระบาท
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
สมเด็จพระราชาคณะ
รองสมเด็จพระราชาคณะ
นมัสการ..........บุรุษที่ ๑-(ชาย) กระผม
(หญิง) ดิฉัน
บุรุษที่ ๒-พระคุณเจ้า
ขอนมัสการด้วยความเคารพอย่างยิ่ง
พระราชาคณะนมัสการ..........บุรุษที่ ๑-(ชาย) ผม
(หญิง) ดิฉัน
บุรุษที่ ๒-พระคุณเจ้า
ขอนมัสการด้วยความเคารพอย่างสูง
พระภิกษุสงฆ์ทั่วไปนมัสการ..........บุรุษที่ ๑-(ชาย) ผม
(หญิง) ดิฉัน
บุรุษที่ ๒-ท่าน
ขอนมัสการด้วยความเคารพ
ประธานองคมนตรี
นายกรัฐมนตรี
ประธานรัฐสภา
ประธานวุฒิสภา หรือ
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ประธานศาลฎีกา
กราบเรียน..........บุรุษที่ ๑-ข้าพเจ้า กระผม ผม ดิฉัน
บุรุษที่ ๒-ท่าน
ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
บุคคลธรรมดาเรียน..........บุรุษที่ ๑-ข้าพเจ้า กระผม ผม ดิฉัน
บุรุษที่ ๒-ท่าน
ขอแสดงความนับถือ
***
ตัวอย่าง
“ราษฎรจังหวัดเลย....................สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระองค์....................กับราษฎร”
ราชาศัพท์ข้อใดเหมาะสมกับข้อความข้างต้น (ทบ.๓๘)
ก. รับเสด็จฯ.....มีพระราชปฏิสันถาร
ข. รับเสด็จฯ.....ทรงมีพระราชปฏิสันถาร
ค. ถวายการต้อนรับ.....มีพระราชปฏิสันถาร
ง. ถวายการรับเสด็จ.....ทรงมีพระราชปฏิสันถาร

พระสงฆ์สวดมนต์อวยพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ทรงหายจากพระอาการประชวร
“ สวดมนต์อวยพร” ตรงกับคำกริยาราชาศัพท์ข้อใด (ทบ.๓๘)
ก. ถวายพระพร
ข. ถวายพระพรชัยมงคล
ค. ถวายอดิเรก
ง. ถวายพระพรลา

คำราชาศัพท์ของคำว่า “ ยาถ่าย” คือข้อใด (ทบ.๓๘)
ก. พระโอสถถ่าย
ข. พระโอสถมวน
ค. พระโอสถเส้น
ง. ประโอสถประจุ

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงธรรม
“ ทรงธรรม” เป็นกริยาราชาศัพท์ มีความหมายตรงกับข้อใด (ทบ.๓๘)
ก. สนทนาธรรม
ข. ตั้งอยู่ในธรรม
ค. ฟังเทศน์
ง. ทรงคุณธรรม
***
บรรณานุกรม
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๖). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สารัตถสัมพันธ์ เล่มที่ ๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ช่วงชั้นที่ ๓ (ม.๑-ม.๓). (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๔). หนังสือเรียนภาษาไทย ท ๒๐๓ ท ๒๐๔ หลักภาษาไทย เล่ม ๒. (พิมพ์ครั้งที่ ๑๖). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๔). หนังสือเรียนภาษาไทย ท ๓๐๕ ท ๓๐๖ หลักภาษาไทย เล่ม ๓. (พิมพ์ครั้งที่ ๑๔). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
ประวีณา มีชอบธรรม. (๒๕๔๔). ภาษาไทย (บังคับ). (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศูนย์หนังสือเมืองไทย.
พรทิพย์ แฟงสุต. (๒๕๔๔). รวมหลักภาษาไทย ม.ต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์
ยศ พนัสสรณ์. (๒๕๓๖). ภาษาไทย ม.ต้น (ฉบับเตรียมสอบ). กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์แม็ค จำกัด.
วสุณี รักษาจันทร์. หลักภาษาไทย ม.๑. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์เดอะบุคส์ จำกัด.
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp ศูนย์สารสนเทศ ราชบัณฑิตยสถาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น