วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555

คำราชาศัพท์ใช้สำหรับบุคคลทั่วไป


คำราชาศัพท์ใช้สำหรับบุคคลทั่วไป
          การใช้ถ้อยคำสำหรับบุคคลทั่วไปจำเป็นต้องใช้ให้เหมาะสมกับฐานะ และความสัมพันธ์ระหว่างผู้สื่อสาร กาละและเทศะ ซึ่งการสื่อสารระหว่างสุภาพชนควรหลีกเลี่ยงสิ่งต่อไปนี้
๑. คำห้วน หรือคำกระด้าง เช่น เออ โว้ย หือ หา ไม่รู้
๒. คำหยาบ ไม่ควรใช้ เพราะจะติดเป็นนิสัย เช่น ไอ้ อี ขี้ เยี่ยว
๓. คำคะนอง หรือคำสแลง หมายถึง คำที่อยู่ในความนิยมเป็นพัก ๆ เช่น เก๋ เจ๋ง ซ่าส์ ฯลฯ
๔. คำผวน หรือคำที่เวลาผวนกลับแล้วเป็นคำหยาบ เช่น เสือกะบาก (สากกะเบือ)
๕. คำที่ต้องไม่ใช้ในสถานการณ์ที่ต้องการความสุภาพ หรือในที่ชุมชน เช่น กิน หัว เกือก ผัว เมีย เอามา ฯลฯ
คำที่ไม่ควรใช้ในการสื่อสารที่เป็นทางการ
คำที่ควรใช้แทน

คำที่ไม่ควรใช้ในการสื่อสารที่เป็นทางการ
คำที่ควรใช้แทน
ตีนเท้าเห็นด้วยเห็นสมควร
ปวดหัวปวดศีรษะของตากแดดของผึ่งแดด ของตากแห้ง
กินรับประทานเอามานำมา
รู้แล้วทราบแล้วรู้ทราบ
หมาสุกรหัวศีรษะ
หมาสุนัขผัว เมียสามี ภรรยา
ควายกระบือวัวโค

การใช้คำขึ้นต้น คำสรรพนาม และคำลงท้ายในการเขียนหนังสือ 
ใช้กับ
คำขึ้นต้น
คำสรรพนาม
คำลงท้าย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขอเดชะฝ่าละอองธุลีพรบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า (ออกชื่อเจ้าของหนังสือ)
ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสกราบบังคมทูล
พระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
บุรุษที่ ๑-ข้าพระพุทธเจ้า
บุรุษที่ ๒-ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า...(ลงชื่อ) (หรือจะเอาคำว่า
ขอเดชะมาไว้ท้ายชื่อเจ้าของหนังสือก็ได้)
สมเด็จพระบรมราชินีนาถขอเดชะฝ่าละอองธุลีพรบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า (ออกชื่อเจ้าของหนังสือ)
ขอพระราชทานพระราชวโรกาสกราบบังคมทูล
ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
บุรุษที่ ๑-ข้าพระพุทธเจ้า
บุรุษที่ ๒-ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า...(ลงชื่อ) (หรือจะเอาคำว่า
ขอเดชะมาไว้ท้ายชื่อเจ้าของหนังสือก็ได้)
สมเด็จพระราชินี
สมเด็จพระบรมราชชนนี
สมเด็จพระยุพราช
( สยามมกุฎราชกุมาร)
สมเด็จพระบรมราชกุมารี
ขอพระราชทานกราบบังคมทูล ... (ออกพระนาม)...
ทราบฝ่าละอองพระบาท
บุรุษที่ ๑-ข้าพระพุทธเจ้า
บุรุษที่ ๒-ใต้ฝ่าละอองพระบาท
ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า...(ลงชื่อ)
สมเด็จเจ้าฟ้าขอพระราชทานกราบทูล...(ออกพระนาม)....
ทราบฝ่าพระบาท
บุรุษที่ ๑-ข้าพระพุทธเจ้า
บุรุษที่ ๒-ใต้ฝ่าพระบาท
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า
โปรดกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า...(ลงชื่อ)
พระบรมวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าขอประทานกราบทูล...(ออกพระนาม)...
ทราบฝ่าพระบาท
บุรุษที่ ๑-ข้าพระพุทธเจ้า
บุรุษที่ ๒-ใต้ฝ่าพระบาท
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า
โปรดกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า...(ลงชื่อ)
พระเจ้าวรวงศ์เธอ
(ที่มิได้ทรงกรม)
พระอนุวงศ์ชั้นพระวรวงศ์เธอ
(ที่ทรงกรม)
กราบทูล...(ออกพระนาม)...ทราบฝ่าพระบาทบุรุษที่ ๑-(ชาย) เกล้ากระหม่อม
(หญิง) เกล้ากระหม่อมฉัน
บุรุษที่ ๒-ฝ่าพระบาท
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
พระอนุวงศ์ชั้นพระวรวงศ์เธอ
(ที่มิได้ทรงกรม)
ทูล...(ออกพระนาม)...ทราบฝ่าพระบาทบุรุษที่ ๑-(ชาย) กระหม่อม
(หญิง) หม่อมฉัน
บุรุษที่ ๒-ฝ่าพระบาท
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าทูล...(ออกพระนาม)...บุรุษที่ ๑-(ชาย) กระหม่อม
(หญิง) หม่อมฉัน
บุรุษที่ ๒-ฝ่าพระบาท
แล้วแต่จะโปรด
สมเด็จพระสังฆราชเจ้าขอประทานกราบทูล...(ออกพระนาม)...บุรุษที่ ๑-ข้าพระพุทธเจ้า
บุรุษที่ ๒-ใต้ฝ่าพระบาท
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า
โปรดกระหม่อม
สมเด็จพระสังฆราชกราบทูล..........บุรุษที่ ๑-(ชาย) เกล้ากระหม่อม
(หญิง) เกล้ากระหม่อมฉัน
บุรุษที่ ๒-ฝ่าพระบาท
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
สมเด็จพระราชาคณะ
รองสมเด็จพระราชาคณะ
นมัสการ..........บุรุษที่ ๑-(ชาย) กระผม
(หญิง) ดิฉัน
บุรุษที่ ๒-พระคุณเจ้า
ขอนมัสการด้วยความเคารพอย่างยิ่ง
พระราชาคณะนมัสการ..........บุรุษที่ ๑-(ชาย) ผม
(หญิง) ดิฉัน
บุรุษที่ ๒-พระคุณเจ้า
ขอนมัสการด้วยความเคารพอย่างสูง
พระภิกษุสงฆ์ทั่วไปนมัสการ..........บุรุษที่ ๑-(ชาย) ผม
(หญิง) ดิฉัน
บุรุษที่ ๒-ท่าน
ขอนมัสการด้วยความเคารพ
ประธานองคมนตรี
นายกรัฐมนตรี
ประธานรัฐสภา
ประธานวุฒิสภา หรือ
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ประธานศาลฎีกา
กราบเรียน..........บุรุษที่ ๑-ข้าพเจ้า กระผม ผม ดิฉัน
บุรุษที่ ๒-ท่าน
ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
บุคคลธรรมดาเรียน..........บุรุษที่ ๑-ข้าพเจ้า กระผม ผม ดิฉัน
บุรุษที่ ๒-ท่าน
ขอแสดงความนับถือ
***
ตัวอย่าง
“ราษฎรจังหวัดเลย....................สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระองค์....................กับราษฎร”
ราชาศัพท์ข้อใดเหมาะสมกับข้อความข้างต้น (ทบ.๓๘)
ก. รับเสด็จฯ.....มีพระราชปฏิสันถาร
ข. รับเสด็จฯ.....ทรงมีพระราชปฏิสันถาร
ค. ถวายการต้อนรับ.....มีพระราชปฏิสันถาร
ง. ถวายการรับเสด็จ.....ทรงมีพระราชปฏิสันถาร

พระสงฆ์สวดมนต์อวยพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ทรงหายจากพระอาการประชวร
“ สวดมนต์อวยพร” ตรงกับคำกริยาราชาศัพท์ข้อใด (ทบ.๓๘)
ก. ถวายพระพร
ข. ถวายพระพรชัยมงคล
ค. ถวายอดิเรก
ง. ถวายพระพรลา

คำราชาศัพท์ของคำว่า “ ยาถ่าย” คือข้อใด (ทบ.๓๘)
ก. พระโอสถถ่าย
ข. พระโอสถมวน
ค. พระโอสถเส้น
ง. ประโอสถประจุ

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงธรรม
“ ทรงธรรม” เป็นกริยาราชาศัพท์ มีความหมายตรงกับข้อใด (ทบ.๓๘)
ก. สนทนาธรรม
ข. ตั้งอยู่ในธรรม
ค. ฟังเทศน์
ง. ทรงคุณธรรม
***
บรรณานุกรม
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๖). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สารัตถสัมพันธ์ เล่มที่ ๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ช่วงชั้นที่ ๓ (ม.๑-ม.๓). (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๔). หนังสือเรียนภาษาไทย ท ๒๐๓ ท ๒๐๔ หลักภาษาไทย เล่ม ๒. (พิมพ์ครั้งที่ ๑๖). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๔). หนังสือเรียนภาษาไทย ท ๓๐๕ ท ๓๐๖ หลักภาษาไทย เล่ม ๓. (พิมพ์ครั้งที่ ๑๔). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
ประวีณา มีชอบธรรม. (๒๕๔๔). ภาษาไทย (บังคับ). (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศูนย์หนังสือเมืองไทย.
พรทิพย์ แฟงสุต. (๒๕๔๔). รวมหลักภาษาไทย ม.ต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์
ยศ พนัสสรณ์. (๒๕๓๖). ภาษาไทย ม.ต้น (ฉบับเตรียมสอบ). กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์แม็ค จำกัด.
วสุณี รักษาจันทร์. หลักภาษาไทย ม.๑. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์เดอะบุคส์ จำกัด.
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp ศูนย์สารสนเทศ ราชบัณฑิตยสถาน

คำราชาศัพท์ สำหรับพระมหากษัตริย์



ประเทศไทยปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และมีภาษาไทย เป็นภาษาประจำชาติที่มีเอกลักษณ์  มีระเบียบแบบแผนในการใช้ภาษาให้เหมาะสมกับฐานะและระดับของบุคคล โดยเฉพาะภาษาที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ ซึ่งรวมถึงพระบรมวงศานุวงศ์ด้วยเช่นกัน คือการใช้ “คำราชาศัพท์” ที่มีความสำคัญยิ่ง แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมทางสังคมที่ประชาชนมีต่อพระมหากษัตริย์ ด้วยความจงรักภักดี การยกย่องเทิดทูน และความผูกพันระหว่างกษัตริย์กับประชาชน

จากบันทึกประวัติศาสตร์ เขียนไว้ว่า คนไทยเราเริ่มใช้คำราชาศัพท์ตั้งแต่ในรัชสมัยพระมหาธรรม ราชาลิไท พระร่วงองค์ที่ ๕ แห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งในศิลาจารึกวัดศรีชุม ได้กล่าวถึงการตั้งราชวงศ์และกรุงสุโขทัย โดยมีคำว่า “อภิเษก” ซึ่งเป็นคำราชาศัพท์ที่ไทยเรารับมาใช้สำหรับประกอบพิธีการแต่งตั้งตำแหน่งชั้นสูง นอกจากนี้ ในวรรณคดีเรื่องไตรภูมิพระร่วง ปรากฏว่า มีคำราชาศัพท์อยู่เป็นจำนวนมาก เช่น คำว่า สมเด็จ เสด็จ พระสหาย ราชอาสน์ ราชกุมาร บังคม เสวยราชย์ ราชาภิเษก เป็นต้น

ทุกวันนี้การใช้คำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ เรารับรู้จากการนำเสนอผ่านทางหน้าหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ และ อินเทอร์เน็ต มีการสื่อสารการใช้คำราชาศัพท์ผิดๆ อยู่เป็นประจำ ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าผู้มีหน้าที่นำเสนอข่าวสาร ขาดความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการใช้คำราชาศัพท์ หรือเกิดจากความไม่รับผิดชอบ ปล่อยปละละเลย จึงนำเสนอให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งเป็นผลให้จดจำไปใช้กันผิดๆ ดังตัวอย่างการใช้คำราชาศัพท์ต่อไปนี้

“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประชวร”
ข้อความนี้ใช้คำราชาศัพท์ “ทรงประชวร” ผิด เพราะ “ประชวร” เป็นคำราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่ต้องใช้ “ทรง” นำหน้า เช่นเดียวกับคำว่า โปรด เสวย ตรัส เสด็จ กริ้ว ทูล ถวาย บรรทม ประทับ
คำเหล่านี้เป็นคำราชาศัพท์ทั้งสิ้น จึงไม่ต้องใช้ “ทรง” นำหน้า แต่ถ้าหากจะใช้ “ทรง” นำหน้า ต้องใช้ว่า “ทรงพระประชวร” เพราะใช้ “ทรง” นำหน้าคำนามราชาศัพท์ได้ เช่นเดียวกับคำว่า พระเมตตา พระอุตสาหะ พระพิโรธ พระสรวล พระราชนิพนธ์ พระราชสมภพ ใช้ “ทรง” นำหน้าได้ เพราะคำเหล่านี้เป็นคำนามราชาศัพท์
“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชปฏิสันถารกับประชาชนที่มารอรับเสด็จ”
ข้อความนี้ใช้คำราชาศัพท์ “ทรงมีพระราชปฏิสันถาร” ผิด ที่ถูกต้องคือ “มีพระราชปฏิสันถาร” ทั้งนี้เพราะว่าไม่ต้องใช้ “ทรง” นำหน้าคำกริยา “มี” หรือ “เป็น” ที่ต่อท้ายด้วยคำนามราชาศัพท์ เช่นเดียวกับคำว่า มีพระเมตตา มีพระราชดำริ มีพระบรมราชโองการ เป็นพระราชโอรส เป็นพระราชธิดา คำเหล่านี้ ใช้ “ทรง” นำหน้าไม่ได้เช่นกัน แต่ถ้าคำว่า “เป็น” มีคำสามัญธรรมดาต่อท้าย ใช้ “ทรง” นำหน้าได้ เช่น ทรงเป็นผู้นำ ทรงเป็นที่เคารพสักการะ เป็นต้น
“ประชาชนชาวไทยพร้อมใจกันถวายความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”
ข้อความนี้ควรแก้ไขให้ถูกต้องว่า “ประชาชนชาวไทยมีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว” ซึ่งไม่ควรใช้คำว่า “ถวาย” เพราะว่าความจงรักภักดีเป็นสิ่งที่ถวายให้กันไม่ได้
“โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจร่วมกันถ่ายทอดสดพิธีน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ควรเปลี่ยน “น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย ....” เป็น “ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย....” เพราะการถวายของแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีหลักการใช้ว่า ถ้าเป็นของเล็ก ให้ใช้ว่า “ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย....” ถ้าเป็นของใหญ่ ให้ใช้ว่า “น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย....”
หลักเกณฑ์การใช้คำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์
การใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกต้อง ควรคำนึงถึงการใช้คำที่เป็นคำในลักษณะต่างๆ ได้แก่ คำนามราชาศัพท์ คำสรรพนามราชาศัพท์ คำกริยาราชาศัพท์ การใช้คำกราบบังคมทูล และการใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกความหมาย

การใช้คำนามราชาศัพท์ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้ 

๑.คำนามที่เป็นชื่อสิ่งสำคัญที่ควรยกย่อง มีคำที่ใช้เติมข้างหน้า ได้แก่ พระบรมมหาราช พระบรมราช พระบรม พระราช พระอัครและพระมหา เช่น พระบรมมหาราชวัง พระบรมมหาชนก พระบรมราชชนนี พระบรมราชวงศ์ พระบรมอัฐิ พระราชโอรส พระอัครชายา พระมหาปราสาท เป็นต้น
๒. คำนามที่ใช้เป็นชื่อสามัญทั่วไป นำหน้าด้วยคำ “พระ” เช่น พระหัตถ์ พระบาท พระกร พระแท่น พระเคราะห์ เป็นต้น
๓. คำนามที่ต่อท้ายด้วยคำว่า “ต้น” และ “หลวง” เช่น ประพาสต้น ช้างต้น เรือนต้น วังหลวง รถหลวง เรือหลวง ส่วน “หลวง” ที่แปลว่าใหญ่ ไม่จัดว่าเป็นคำราชาศัพท์ เช่น ทะเลหลวง เขาหลวง ภรรยาหลวง
๔. คำนามที่ใช้คำไทยประสมกับคำต่างประเทศ เช่น ริมพระโอษฐ์ เส้นพระเกศา ฝ่าพระบาท ลายพระหัตถ์ ช่องพระนาสิก ขอบพระเนตร เป็นต้น

การใช้คำสรรพนามราชาศัพท์ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้ 
คำสรรพนามใช้แทนบุรุษที่ ๑
บุคคลทั่วไป ใช้คำว่า ข้าพระพุทธเจ้า
คำสรรพนามใช้แทนบุรุษที่ ๒
บุคคลทั่วไป ใช้คำว่า ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
คำสรรพนามใช้แทนบุรุษที่ ๓
บุคคลทั่วไป ใช้ว่า พระองค์, พระองค์ท่าน
การใช้คำกริยาราชาศัพท์ มีหลักเกณฑ์ที่สำคัญ ดังนี้
๑. ใช้ “ทรง” นำหน้าคำกริยาธรรมดา เช่น ทรงยืน ทรงยินดี ทรงชุบเลี้ยง ทรงฟัง ทรงมีเหตุผล ทรงตัดสิน เป็นต้น
๒. ใช้ “ทรง” นำหน้าคำนามธรรมดา เช่น ทรงศีล ทรงธรรม ทรงดนตรี ทรงบาตร เป็นต้น
๓. ใช้ “เสด็จ” นำหน้าคำกริยาบางคำ เช่น เสด็จขึ้น เสด็จลง เสด็จกลับ เสด็จออก เสด็จไป เป็นต้น
๔. ใช้ “เสด็จ” นำหน้าคำนามราชาศัพท์ เป็นคำกริยาราชาศัพท์ เช่น เสด็จพระราชสมภพ เสด็จพระราชดำเนิน คำเสด็จพระราชดำเนิน หมายถึงเดินทางโดยยานพาหนะ หรือเดินทางตามทางลาดพระบาท ต้องเติมคำที่เป็นใจความไว้ข้างหลัง เช่น เสด็จพระราชดำเนินตรวจพลสวนสนาม
๕. ไม่ใช้ “ทรง” นำหน้าคำกริยาราชาศัพท์ เช่น ตรัส โปรด ถวาย ทูล ประสูติ เป็นต้น
๖. ใช้คำไทยประสมกับคำต่างประเทศใหเป็นคำกริยาราชาศัพท์ เช่น ขอบพระทัย สนพระทัย ทอดพระเนตร แย้มพระโอษฐ์ เอาพระทัยใส่ ลงพระปรมาภิไทย เป็นต้น

การใช้คำกราบบังคมทูล มีหลักเกณฑ์ ดังนี้ 

คำขึ้นต้น : ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
คำลงท้าย : ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
เมื่อจะกราบบังคมทูลเรื่องใด ควรใช้ข้อความที่แสดงถึงเรื่องที่จะกราบบังคมทูล โดยเริ่มต้นข้อความ ให้เหมาะสมกับเรื่องที่จะกราบบังคมทูล ดังนี้
๑. เมื่อกล่าวถึงความสะดวกสบายหรือรอดพ้นอันตราย ใช้ข้อความว่า ขอเดชะพระบารมีปกเกล้า ปกกระหม่อม
๒. เมื่อกล่าวถึงข้อความที่หยาบหรือไม่เหมาะสม ใช้ข้อความว่า ไม่บังควรจะกราบบังคมทูลพระกรุณา
๓. เมื่อกล่าวถึงการที่ได้ทำผิดพลาด หรือทำในสิ่งที่ไม่ควรใช้ข้อความว่า พระราชอาญาไม่พ้นเกล้า พ้นกระหม่อม
๔. เมื่อกล่าวข้อความเป็นการขอบพระคุณ ใช้ข้อความว่า พระมหากรุณาธิคุณ ล้นเกล้าล้นกระหม่อม
๕. เมื่อกล่าวข้อความเป็นกลาง เพื่อจะได้ทรงเลือกให้ใช้ข้อความลงท้ายคำกราบบังคมทูลว่า การจะควรมิควรประการใด สุดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
๖. เมื่อจะกราบบังคมทูลความเห็นของตน ใช้ข้อความว่า เห็นด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
๗. เมื่อจะกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาต ใช้ข้อความว่า ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต
๘. เมื่อจะกราบทูลถึงสิ่งที่ทราบมา ใช้ข้อความว่า ทราบเกล้าทราบกระหม่อมว่า
๙. เมื่อจะกราบบังคมทูลถึงการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งถวาย ใช้ข้อความว่า สนองพระมหากรุณาธิคุณ
๑o. เมื่อจะขอพระราชทานโอกาสทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ใช้ข้อความว่า ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส
การใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกต้องตามความหมาย ซึ่งแบ่งเป็นหมวดต่างๆ เช่น
หมวดร่างกาย พระปราง (แก้ม) พระทาฒิกะ (เครา) พระโลมจักษุ (ขนตา) เส้นพระเจ้า (เส้นผม) พระรากขวัญ (ไหปลาร้า) พระจักษุ (ดวงตา) ฟัน (พระทนต์) พระอังสา (บ่า ไหล่) พระโอษฐ์ (ปาก) พระนลาฎ (หน้าผาก) พระนขา (เล็บ) พระอุทร (ท้อง) พระปัปผาสะ (ปอด) พระองคุลี (นิ้วมือ) เป็นต้น

หมวดเครื่องใช้ พระโอสถ (ยา) ฉลองพระเนตร (แว่นตา) พระแสง (อาวุธ) พระคลุมบรรทม (ผ้าห่มนอน) พระภูษาทรง (ผ้านุ่ง) ผ้าซับพระพักตร์ (ผ้าเช็ดหน้า) พระสุธารส (น้ำ) พระสุธารสชา (น้ำชา) พระกระยาเสวย (ข้าว) พระธำมรงค์ (แหวน) เป็นต้น
หมวดราชตระกูล พระอัยกา (ปู่) พระอัยกี (ย่า) พระปิตุลา (ลุง พี่ชายของพ่อ) พระปิตุจฉา (ป้า พี่สาวของพ่อ) พระมาตุลา (ลุง พี่ชายของแม่) พระมาตุจฉา (ป้า พี่สาวของแม่) พระชามาดา (ลูกเขย) พระสุณิสา (ลูกสะใภ้) พระพี่นาง พระเจ้าน้องยาเธอ พระเจ้าลูกยาเธอ เป็นต้น

การใช้คำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ มีหลักเกณฑ์อยู่มากพอสมควร ที่ยกตัวอย่างมานี้เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ซึ่งการที่จะใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกต้อง ต้องศึกษาหลักเกณฑ์การใช้อย่างละเอียดถี่ถ้วน ถ้าหากใช้ไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสม ก็อาจจะเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้

การใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกต้อง เป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นคนสุภาพมีสัมมาคารวะ มีความประณีตในการใช้ภาษา อีกทั้งเป็นการฝึกทักษะการใช้ภาษาลักษณะหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้ภาษาใช้ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความรอบรู้ของผู้ใช้ ดังนั้นการใช้คำราชาศัพท์จึงเป็นการปลูกฝังให้คนไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาษาไทย และเป็นการส่งเสริมให้มีความภาคภูมิใจที่ประเทศไทยเรามีวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์สืบไป

การอ้างอิง
คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ, ราชาศัพท์ กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ดาว, ๒๕๔๒.
สาส์นสมเด็จ ฉบับองค์การค้าคุรุสภาพิมพ์จำหน่าย เล่ม ๒๓. (๒๕o๕) พระนคร : โรงพิมพ์คุรุสภา.
รายการปกิณกะ สำนักงานเลขาธิการ สถานีวิทยุสราญรมย์ ๑๕ เมกะเฮิรตซ์
www.mfa.go.th/web/149.php.



คำราชาศัพท์ใช้สำหรับพระสงฆ์


คําราชาศัพท์ที่ใช้กับพระสงฆ์

คำที่ใช้กับพระสงฆ์

คำสามัญ

ราชาศัพท์

คำพูดแทนตัวเอง

อาตมา

พระสงฆ์ใช้เรียกพระเจ้าแผ่นดิน

มหาบพิตร

คนทั่วไป

โยม

ให้,  มอบให้

ถวาย

ยื่นให้ระยะห่างหัตถบาส (ระยะระหว่างพระสงฆ์ที่นั่งทําสังฆกรรมหรือระหว่างพระภิกษุ สามเณร กับคฤหัสถ์ผู้ถวายของ ห่างกันไม่เกินศอกหนึ่ง)  (หรือยื่นของให้พระ ของนั้นสามารถเข้าปากแล้วกลืนได้)

ประเคน

อาหารเช้า

จังหัน

กิน

ฉัน

ขอเชิญพระ (เดิน, นั่ง, เขียนหนังสือ)

นิมนต์

ขอเชิญพระแสดงธรรม

กราบอาราธนาธรรม

ไหว้

นมัสการ

ห่มจีวร

ครองจีวร

ผ้าห่ม

ผ้าจีวร

ผ้าพาดบ่า

สังฆาฏิ

ผ้านุ่ง

สบง

อาบน้ำ

สรงน้ำ

โกนผม

ปลงผม

นอน

จำวัด

สวดมนต์

ทำวัตร

เงิน

ปัจจัย

บวชเณร

บรรพชา

บวชพระ

อุปสมบท

ป่วย

อาพาธ

ตาย

มรณภาพ

คําราชาศัพท์ที่ใช้กับพระสงฆ์

         การที่มีคำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระสงฆ์  เพราะ  พระ   หรือ  ภิกษุ ถือว่าเป็นบุคคลที่สืบทอดพระพุทธศาสนาทั้งพระธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อให้บรรดาพุทธศาสนิกชนปฏิบัติแต่ความดีละเว้นความชั่ว  ให้หมู่คนมีความผาสุกด้วยธรรมะ  เป็นผู้ที่ได้รับการเคารพนับถือจากบุคคลทั่วไป   ดังนั้น  จึงมีถ้อยคำสำหรับพระภิกษุกำหนดไว้โดยเฉพาะ  ซึ่งนักเรียนควรสังเกตว่า คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระสงฆ์  มีการใช้ที่แตกต่างจากราชาศัพท์สำหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือพระราชวงศ์ กล่าวคือ  สำหรับพระภิกษุนั้นไม่ว่าบุคคลอื่นจะพูดกับท่าน หรือกล่าวถึงท่าน หรือเมื่อท่านพูดเองก็ตาม จะใช้ศัพท์อย่างเดียวกันตลอดไป เช่น คำว่า  อาพาธ  ฉันภัตตาหาร  เป็นต้น

ด้วยความประสงค์ให้นักเรียนรู้และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

จาก  ครูปิยะฤกษ์

๑  ก.ย.  ๒๕๕๔